ประวัติประเทศมาเลเซีย

 

เมื่อ พุธ, 11/08/2010 – 17:12 | แก้ไขล่าสุด พุธ, 11/08/2010 – 17:12| โดย wsb4705

 

ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกคือ คาบสมุทรมลายู มีพรมแดนทิศเหนือติดประเทศไทย และทิศใต้ติดกับสิงคโปร์ ส่วนที่สองคือ ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซีย และมีพรมแดนล้อมรอบประเทศบรูไน มาเลเซียเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน

 ภูมิศาสตร์
ลักษณะภูมิประเทศ
1.มาเลเซียตะวันตก มีภูเขาทอดยาวทางตอนกลางเกือบตลอด เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคม ทำให้มีที่ราบ 2 ด้าน ที่ราบด้านตะวันตกกว้างกว่า เป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ เขตปลูกยางพารา และขุดแร่ดีบุก
2.มาเลเซียตะวันออก ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ที่ราบสูงอยู่ทางตอนใน มีที่ราบย่อม ๆ อยู่ตามชายฝั่งทะเล
 ลักษณะภูมิอากาศ
ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร อยู่ในอิทธิพลของลมมรสุม
 เศรษฐกิจ
1.เกษตรกรรม ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก และข้าวเจ้าปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน
2.การทำเหมืองแร่ แร่ที่สำคัญ ได้แก่ แร่ดีบุกส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกแร่เหล็ก น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ
3.การทำป่าไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ส่งไม้ออกเป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย
4.อุตสาหกรรม ได้ชื่อว่าเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชีย (NICs)
 ประชากร
ประเทศมาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ในอดีตเคยเกิดสงครามกลางเมืองเนื่องจากการกีดกันทางเชื้อชาติ ประเทศมาเลเซียประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูร้อยละ 50.4 เป็นชาวภูมิบุตร (Bumiputra) คือบุตรแห่งแผ่นดิน รวมไปถึงชนดั้งเดิมของประเทศอีกส่วนหนึ่ง ได้แก่กลุ่มชนเผ่าในรัฐซาราวัก และรัฐซาบาห์มีอยู่ร้อยละ 11[1] ซึ่งตามรัฐธรรมนูญของมาเลเซียนั้น ชาวมลายูนั้นคือมุสลิม และอยู่ในกรอบวัฒนธรรมมลายู แต่ชาวภูมิบุตรที่ไม่ใช่ชาวมลายูนั้น มีจำนวนกว่าครึ่งของประชากรในรัฐซาราวัก (ได้แก่ชาวอิบัน ร้อยละ 30) และร้อยละ 60 ของประชากรรัฐซาบาห์ (ได้แก่ชาวกาดาซัน-ดูซุน ร้อยละ 18 และชาวบาเจา ร้อยละ 17)[1] นอกจากนี้ยังมีชนพื้นเมืองดั้งเดิมของคาบสมุทรมลายูอีกกลุ่มหนึ่ง คือ โอรัง อัสลี

ประชากรกลุ่มใหญ่ที่ไม่ใช่ชาวภูมิบุตรหรือชนดั้งเดิมเป็นพวกที่เข้ามาใหม่ โดยเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน มีอยู่ร้อยละ 23.7 ซึ่งมีประจายอยู่ทั่วประเทศ มีชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย อีกร้อยละ 7.1 ของประชากร[1] ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวทมิฬ แต่ยังมีชาวอินเดียกลุ่มอื่น อย่างเกรละ, ปัญจาบ, คุชรัต และปาร์ซี นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย โดยอาศัยอยู่ในรัฐทางตอนเหนือของประเทศ มีคนเชื้อสายชวา และมินังกะเบาในรัฐทางตอนใต้ของคาบสมุทรอย่าง รัฐยะโฮร์

ชุมชนลูกครึ่งคริสตัง (โปรตุเกส-มลายู) ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และชุมชนลูกครึ่งอื่นๆอย่าง ฮอลันดา และอังกฤษส่วนมากอาศัยในรัฐมะละกา ส่วนลูกครึ่งเปอรานากัน หรือชาวจีนช่องแคบ (จีน-มลายู) ส่วนมากอาศัยอยู่ในรัฐมะละกา และมีชุมชนอยู่ในรัฐปีนัง

วัฒนธรรม
มีสภาพคล้ายคลึงกับประเทศอินโดนีเชีย ชึ่งเป็นหมู่เกาะอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้แพร่เข้ามาในแหลมมลายู ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม 55% นับถือศาสนาพุทธ 25% นับถือศาสนาคริสต์ 13% นับถือศาสนาฮินดู 7% และลัทธิศาสนาพื้นเมือง 4% แต่การหันไปนับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามเป็นปัญหาอย่างมากเนื่องจากทางภาครัฐจะไม่เปลี่ยนข้อมูลทางราชการให้ มาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะมีสิทธิพิเศษ คือ ได้รับเงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณะสุข การคลอดบุตร งานแต่งงานและงานศพตามนโยบาย “ภูมิบุตร”

ประเทศมาเลเซีย

 
 

 

 
 ข้อมูลของ…

ประเทศมาเลเซีย

เมืองหลวงชื่อ กัวลาลัมเปอร์

ลักษณะการปกครอง ประชาธิปไตย มีกษัตริย์เป็นประมุข

จำนวนประชากร ประมาณ 22.6 ล้านคน

เชื้อชาติ พลเมืองส่วนใหญ่มีเชื้อชาติมลายู นอกนั้นเป็นชาวจีน ชาวอินเดีย ชาวเขาเผ่าต่างๆ เลือดผสมมลายูกับโปรตุเกส มลายูกับฮอลันดา มลายูกับอังกฤษ

ศาสนา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม

ภาษาที่ใช้ ภาษาอังกฤษ

ภูมิประเทศ

มาเลเซียตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยดินแดน 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ มาเลเซียตะวันตก และมาเลเซียตะวันออก อยู่ห่างกันประมาณ 400 ไมล์ โดยมีทะเลจีนใต้ขวางกั้น เดิมเป็นดินแดนที่มีการปกครองต่างหากจากกัน ได้มารวมเป็นประเทศเดียวกันเมื่อ พ.ศ. 2506 มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 130,000 ตารางไมล์

มาเลเซียตะวันตก ได้แก่ ดินแดนที่อยู่ในคาบสมุทรมลายูหรือมลายา ติดชายแดนทางใต้ของประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 50,800 ตารางไมล์ประกอบด้วยรัฐต่างๆ 11 รัฐ ตอนกลางเป็นที่ราบสูง มีภูเขาใหญ่หลายเทือก ปกคลุมด้วยป่าทึบบริเวณกว้างขวาง แถบริมฝั่งทะเลทั้ง 2 ข้างเป็นที่ราบ ดินอุดมสมบูรณ์ ชายฝั่งทะเลตะวันตกเป็นหาดเลนยาวพื้นที่มีหล่มบึงมาก

ส่วนด้านตะวันออกเป็นหาดทรายยาวเหยียด ไม่เหมาะแก่การเป็นท่าเรือ มาเลเซียตะวันออกได้แก่ ดินแดนทางภาคเหนือของเกาะบอร์เนียว มีเนื้อที่ประมาณ 70,200 ตารางไมล์ ประกอบด้วยรัฐ 2 รัฐคือ ซาราวัก และซาบาห์ (บอร์เนียวเหนือ) พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่สูง ประกอบด้วยป่าทึบและภูเขาสูงใหญ่ บางยอดเขาสูงเกินกว่าหมื่นฟุตมีที่ราบขนาดย่อมอยู่ตามริมฝั่งทะเล แม่น้ำมักเป็นสายสั้นๆ และไหลเชี่ยว ผ่านหุบเขาที่แคบและลาดชันไปออกทะเลทางทิศตะวันตก

ประวัติด้านกีฬา

มาเลเซียเป็นประเทศที่เข้าร่วมทำการแข่งขันนับตั้งแต่การแข่งขันซีเกมส์ถือกำเนิดในปี ค.ศ. 1959 ที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพ และส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันทุกครั้งเรื่อยมา เคยได้รับคัดเลือกเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน 4 ครั้ง ได้แก่ ซีเกมส์ครั้งที่ 3 ช่วงระหว่างวันที่ 14-21 ธันวาคม ค.ศ. 1965, ซีเกมส์ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 11-16 ธันวาคม ค.ศ. 1971, ซีเกมส์ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 9-16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1977 และซีเกมส์ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 20-31 สิงหาคม ค.ศ. 1989 โดยจัดขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์

สรุปเหรียญรางวัลที่เคยได้รับจากการแข่งขัน

เหรียญทอง 605 เหรียญ

เหรียญเงิน 749 เหรียญ

เหรียญทองแดง 1002 เหรียญ

ประเทศมาเลเซีย

(MALAYSIA)

1. ข้อมูลพื้นฐาน

ประชากร 23.8 ล้านคน

พื้นที่ 330,433 ตารางกิโลเมตร

เชื้อชาติ มาเลย์ (58%), จีน (26 %), อินเดียน (7%)

อื่นๆ (9 %)

ศาสนา มุสลิม (58 %) พุทธ (30 %) ฮินดู (8 %) คริสต์เตียน เต๋า และศาสนาประจำเผ่าของชนชาวเผ่าส่วนน้อยในประเทศ เช่น ศาสนาของกลุ่มชาวเงาะป่าซาไก เป็นต้น

ภาษา มาเลย์ (ภาษาราชการ) อังกฤษ จีนต่างๆ ภาษาทมิฬ และภาษาประจำเผ่าของชนชาวเผ่าส่วนน้อยในประเทศ

เมืองหลวง กรุงกัวลาลัมเปอร์

เมืองศูนย์กลางธุรกิจ อิโปห์ มะลักกา บูหารู คลาง ปีนัง กัวลาลัมเปอร์

เมืองท่า Port Klang และปีนัง

ระบอบการปกครอง ประชาธิปไตย แบบรัฐสภาโดยมีพระมหากษัตริยเป็นองค์พระประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญการปกครองประเทศแบบสหพันธ์รัฐ(Federation) แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 รัฐ คือ เปรัค ปาหัง สลังงอร์ ไทรบุรี เคดาห์ เนกรีเซมบิลัน ยะโฮร์ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง มะละกา ซาบาห์ และซาราวัค รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรซึ่งสมาชิกมาจากการเลือกตั้ง และวุฒิสภาซึ่งสมาชิกได้รับการแต่งตั้งโดยสมเด็จพระราชาธิบดีอีกส่วนหนึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยนิติบัญญัติในแต่ละรัฐ รัฐบาลปัจจุบันเป็นรัฐบาลผสม มีพรรคร่วมรัฐบาลที่เรียกว่า พรรคแนวร่วมแห่งชาติ (Barisan Nasional-BN) ซึ่งมีพรรค UMNO (United Malays National Organisation) เป็นแกนนำ

ประมุขของประเทศ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย ตวนกู จาฟา อัลมารุม ตวนกู อับดุล ราห์มาน (Tuanku Ja’afar Almarhum Tuanku Abdul Rahman, Yang Di Pertuan Agong ) เป็นองค์พระประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยเลือกตั้งจากสุลต่านผู้ปกครองรัฐ ซึ่งมีใน 9 รัฐ (ยกเว้นปีนัง มะละกา ซาบาห์ และซาราวัก) ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี

นายกรัฐมนตรี Y.A.B. Dato’ Seri Dr. Mahathir bin Mohammad ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2524

วันชาติ 31 สิงหาคม

ทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมันดิบ ก๊าสธรรมชาติ ดีบุก ไม้ ทองแดง เหล็ก บ็อกไซด์

ผลผลิตทางการเกษตร ยางพารา นำมันปาล์ม โกโก้ ข้าว พริกไทย สับปะรด

อุตสาหกรรมหลัก เครื่องไฟฟ้าและอิเล็กโทรนิกส์ สิ่งทอ ยางพารา รถยนต์ นำมัน ไม้

สินค้าเข้าสำคัญ ไม้แปรรูป เครื่องยนต์และอุปกรณ์ ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช เครื่องใช้ไฟฟ้า สัตว์น้ำมีชีวิต ผัก ส่วนประกอบโครงรถและตัวถัง เครื่องจักรไฟฟ้าในการผลิตและส่วนประกอบ ไม้หมอนหนุนรางรถไฟ ดอกไม้สด อาหาร อุปกรณ์ขนส่ง เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก หนังดิบและหนังฟอก

สินค้าออกสำคัญ นำมันปิโตรเลียม เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยางพาราไม้แปรรูป สิ่งทอ ดีบุก แก๊สธรรมชาติ นำมันปาล์ม สัตว์น้ำมีชีวิต อาหารทะเลกระป๋องแปรรูป ผักสดผลไม้ ปลาป่น รถยนต์ ขนสัตว์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป สายเคเบิ้ล อิฐ

2. เศรษฐกิจ

ภายหลังจากที่เศรษฐกิจของมาเลเซียมีความเจริญเติบโตอยู่เป็นเวลาหลายทศวรรษก็ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินขึ้นในภูมิภาคในปี 2540-41 อันเป็นผลให้ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของมาเลเซียต้องชะลอตัวลง ในปี 2541 รัฐบาลมาเลเซียคาดการณ์อัตราการขยายตัวของ GDP ไว้เพียงร้อยละ 4-5 ในขณะที่ภาคเอกชนคาดหมายอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไว้เพียงร้อยละ 2 และการที่ค่าของเงินตราสกุลท้องถิ่นรวมทั้งราคาหุ้นในตลาดหุ้นตกลงเป็นอย่างมากก็ยังผลให้ทางรัฐบาลต้องออกมาตรการตัดทอนงบประมาณลงร้อยละ 20 เพื่อลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดลงให้เหลือเพียงร้อยละ 3 ของ GDP ในปี 2541

การตัดทอนงบประมาณดังกล่าว จำเป็นจะต้องลดรายการนำเข้าและชะลอโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ต่างๆลง อันยังผลให้การจ้างงานลดลงไปอีก ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องทำให้รายได้ของกิจการต่างๆของภาคเอกชนลดลงไปอีก

2.1 นโยบายทั่วไป

เนื่องจากมาเลเซียมีรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยพรรคแนวร่วมแห่งชาติ ที่มีเสถียรภาพและบริหารประเทศติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งนำโดย Dr. Mahathir bin Mohamad นโยบายทั่วไปของมาเลเซียจึงค่อนข้างจะคงที่สอดคล้องกันมาโดยตลอด นับจากแผนโครงร่างที่รวมถึงแผนพัฒนาของมาเลเซียฉบับที่ 2 จนถึงแผนพัฒนาของมาเลเซียฉบับที่ 5 ซึ่งดำเนินการภายใต้กรอบนโยบายเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Policy) และต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงแผนพัฒนาของมาเลเซียฉบับที่ 6 (The Sixth Malaysian Plan) ระหว่างปี 2534-2538 และแผนภาพโครงร่างฉบับที่ 2 (The Second Outline Perspective Plan ) ระหว่างปี 2534-2543 โดยมีนโยบายเศรษฐกิจโดยทั่วไปคือ พยายามใช้ระบบงบประมาณสมดุลย์ เพื่อให้งบประมาณรายรับอันประกอบด้วยรายได้จากเงินภาษีอากรและการกู้ยืม เท่ากันกับงบประมาณรายจ่ายอันประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและการใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้การผลิตในประเทศและการนำเข้าตอบสนองความต้องการอันประกอบด้วยความต้องการในประเทศและการส่งออก เพื่อมุ่งในด้านการประหยัดและออมทรัพย์ การส่งเสริมการผลิตในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า การส่งเสริมการส่งออก การควบคุมภาวะเงินเฟ้อ โดยในด้านการลงทุนก็พยายามให้ผู้ผลิตใช้วัตถุดิบในประเทศให้มากขึ้นและพึ่งพาเงินลงทุนจากต่างประเทศให้น้อยลงตามนโยบายการริเริ่มลงทุนภายในประเทศ(The Domestic Investment Initiative) ส่วนในด้านการค้าก็มีนโยบายให้ความช่วยเหลือธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลางโดยการให้เครดิตเงินกู้และการจัดการให้มีตลาดรองรับเพิ่มขึ้น รวมถึงการให้ความรู้ด้านการค้า การจัดระบบการขายส่งและขายปลีกให้ทันสมัยและขยายตัว การปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคและระบบการพลังงาน โดยในส่วนของการค้าระหว่างประเทศก็มีนโยบายเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันกับต่างประเทศเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ต่อมาเลเซีย โดยให้ความสำคัญกลุ่มประเทศต่างๆ คือ ประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียน กลุ่มประเทศอิสลาม (Islamic Countries) ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ กลุ่มประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และกลุ่มประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ

เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (2544)

ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP-PPP) 147.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

อัตราการเจริญเติบโตของ GDP 0.4 %

รายได้ต่อหัว (PPP) 6,205 เหรียญสหรัฐฯ

การส่งออก 87.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

อิเล็คทรอนิกส์และเครื่องจักร 60.6 % ของมูลค่าการส่งออก

ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ 6.7 % ของมูลค่าการส่งออก

เคมีภัณฑ์ 3.9 % ของมูลค่าการส่งออก

สิ่งทอ 2.7 % ของมูลค่าการส่งออก

น้ำมันปาล์ม 2.6 % ของมูลค่าการส่งออก

การนำเข้า 69.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

Intermediate Goods 60 % ของมูลค่าการส่งออก

เครื่องจักร 11.8 % ของมูลค่าการส่งออก

สินค้าอุปโภค 4.6 % ของมูลค่าการส่งออก

สินค้านำเข้าเพื่อการสงออก 1.7 % ของมูลค่าการส่งออก

อุปกรณ์ทางด้านคมนาคม 1.6 % ของมูลค่าการส่งออก

ที่มา : The Economist, May 28 2002

2.2 นโยบายการนำเข้า

รัฐบาลให้ความสำคัญทางการค้ากับประเทศในกลุ่มอาเซียน (INTRA-ASEAN) และโครงการต่างๆภายใต้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศที่สาม ตลอดจนให้สิทธิพิเศษด้านภาษี PTA และวิธีการลดอากรขาเข้าสินค้าตามระบบ CEPT ภายใต้โครงการ “เขตการค้าเสรีอาเซียน” (ASEAN FREE TRADE AREA-AFTA) และให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค (regional economic cooperation) ตามโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย หรือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (Indonesian-Malaysian-Thailand Growth Triangle : IMT-GT)

3. คู่แข่งขันทางการค้า

3.1 คู่ค้าที่สำคัญ

ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของมาเลเซีย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา(20.2%) สิงคโปร์(16.9%) สหภาพยุโรป (13.6%) ญี่ปุ่น(13.3%) ฮ่องกง(4.6%) จีน (4.3%) สหราชอาณาจักร(4%) ไทย(4%) และเยอรมนี(3%) ส่วนประเทศที่เป็นแหล่งนำเข้ารายสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น(19.2%) สหรัฐอเมริกา(16%) สหภาพยุโรป (12.9%) สิงคโปร์ (12.6%) ไต้หวัน(5.7%) จีน (5.2) เยอรมนี(4.3%) และไทย(3.9%)

3.2 คู่แข่งจากอาเซียน

ได้แก่ สิงคโปร์ ซึ่งมีสัดส่วนตลาด 13% สินค้านำเข้ารายการสำคัญคือ แร่ธาตุที่เป็นแหล่งพลังงาน น้ำมันหล่อลื่น เครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง เคมีภัณฑ์ วัสดุที่ใช้ในการอุตสาหกรรม อินโดนีเซีย มีสัดส่วนตลาด 2.5% สินค้านำเข้ารายการสำคัญคือ น้ำมันพืชและสัตว์ อาหาร วัตถุดิบที่ไม่ใช่อาหาร แร่ธาตุพลังงานและน้ำมันหล่อลื่น เคมีภัณฑ์ และสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ และเวียตนาม มีสัดส่วนตลาด 0.2% สินค้านำเข้ารายการสำคัญคือ อาหาร

3.3 สินค้าออก/นำเข้าสำคัญ

-การส่งออก สินค้าออกที่สำคัญคือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ น้ำมันปาล์ม ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ยางพารา

-การนำเข้า สินค้านำเข้ารายการสำคัญคือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ และอาหาร

3.4 การค้ากับประทศไทย

ในปี 2544 ไทยและมาเลเซียมีปริมาตรการค้ารวมกันทั้งสิ้น 5,800.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2543 ร้อยละ 6.31 ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ซบเซาลง

ในช่วง 6 เดือนแรก (มกราคม-มิถุนายน) ของปี 2545 ปริมาตรการค้าระหว่าง 2 ประเทศรวมกันทั้งสิ้น 3,089.69 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.95 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.94 ของมูลค่าการค้ารวมของไทยกับทั่วโลก มาเลเซียนำเข้าสินค้าจากไทยเป็นมูลค่า 1,405.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.36 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งหมดของไทย เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.33 ส่งออกสินค้ามาประเทศไทยเป็นมูลค่า 1,684.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าเป็นมูลค่า 279.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งนับเป็นการขาดดุลต่อเนื่องมาโดยตลอด

รายการสินค้าออกที่สำคัญของไทยไปยังตลาดมาเลเซีย ได้แก่ ยางพารา(180.69 ล้านเหรียญฯ) แผงวงจรไฟฟ้า (264.13 ล้านเหรียญฯ) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (262.35 ล้านเหรียญฯ) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (51.15 ล้านเหรียญฯ) เคมีภัณฑ์ (50.90 ล้านเหรียญฯ) เม็ดพลาสติก (44.76 ล้านเหรียญฯ) น้ำตาลทราย (39.57 ล้านเหรียญฯ) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (36.08 ล้านเหรียญฯ) ข้าว (30.77 ล้านเหรียญฯ) เป็นต้น ส่วนสินค้ารายการสำคัญที่ไทยนำเข้าจากมาเลเซีย ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (482.64 ล้านเหรียญฯ) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ (316.42 ล้านเหรียญฯ) แผงวงจรไฟฟ้า (341.75 ล้านเหรียญฯ) เคมีภัณฑ์ (255.21 ล้านเหรียญฯ) หลอดภาพโทรทัศน์ (269.58 ล้านเหรียญฯ) น้ำมันดิบ (256.59 ล้านเหรียญฯ) ไม้ซุง ไม้แปรรูปและไม้อื่นๆ (130.61 ล้านเหรียญฯ) เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม (118.61 ล้านเหรียญฯ) เครื่องใช้ไฟฟ้า (91.41 ล้านเหรียญฯ) เป็นต้น

3.5 สินค้าไทยที่มีศักยภาพในตลาดสินค้านำเข้ามาเลเซีย

สินค้าออกของไทยไปยังตลาดมาเลเซียรายการสำคัญ ได้แก่ ยางพารา รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ เป็นต้น

นอกจากมาเลเซียจะเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทยแล้ว ยังเป็นคู่แข่งขันทางการค้าที่สำคัญของไทยด้วย เนื่องจากมีสินค้าหลายชนิดที่คล้ายคลึงกันและต้องแข่งขันกันในการส่งออก ได้แก่ ดีบุก ยางพารา เสื้อผ้าสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า กาแฟ และใบยาสูบ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการกีดกันสินค้าบางประเภทระหว่างกันบ้าง เช่น เนื้อไก่แช่เย็นและแช่แข็ง กระจกโฟลต เป็นต้น

4. กฎระเบียบทางการค้า

4.1 ข้อกีดกันทางการค้า

ไม่มีการกีดกันทางการค้าสำหรับประเทศหนึ่งประเทศใด หรือกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดโดยเฉพาะ ทั้งนี้ มาเลเซียมีนโยบายปฏิบัติตามกฎกติกาการค้าและการต่างประเทศสากลตามข้อตกลงในพันธกรณีต่างๆ ทั้งในระดับทวิภาคีและระดับพหุภาคี เช่น ตามข้อตกลงของ AFTA, WTO, UNCTAD และมติของ UN เป็นต้น

4.2 มาตรการทางภาษีและมิใช่ภาษี

4.2.1 มาตรการทางภาษี

อากรนำเข้า อัตราภาษีอากรนำเข้าโดยทั่วไปของมาเลเซียโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ไม่สูงนัก (อยู่ในระดับร้อยละ 9) จึงไม่ถือว่าเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย และภายใต้นโยบายเขตการค้าเสรีอาเซียน นับตั้งแต่ปี 2536 ไทย มาเลเซีย และประเทศอื่นๆในภูมิภาคอาเซียน มีข้อผูกพันที่จะต้องลดอากรขาเข้าสินค้าเกษตรสำเร็จรูปและสินค้าอุตสาหกรรมลงเหลือร้อยละ 0-5 ภายใน 10-15 ปี (ภายใน 10 ปี สำหรับสินค้าที่อยู่ในรายการเร่งลดภาษี และภายใน 15 ปี สำหรับสินค้าซึ่งจัดอยู่ในรายการลดภาษีปกติ) อันจะยังผลให้มีการส่งออก-นำเข้าสินค้าระหว่างกันในปริมาณมากยิ่งขึ้นและมากชนิดขึ้น เกิดการพัฒนาการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้ามากยิ่งขึ้น และมีผลให้บรรยากาศการลงทุนในภูมิภาคดีขึ้น เนื่องจากจะมีการจัดสรรทรัพยากรที่เป็นปัจจัยการผลิตในระหว่างกันได้ดีขึ้น โดยกลุ่มสินค้าที่คาดว่าไทยจะได้รับประโยชน์มากขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ แก้ว กระจก เครื่องหนัง เฟอร์นิเจอร์ ซีเมนต์ วัสดุ/เครื่องมือในการก่อสร้าง ปุ๋ย เยื่อกระดาษ ผักและผลไม้สดต่างๆ เช่น ทุเรียน มะม่วง ลิ้นจี่ ลำไย ผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ รวมทั้งกลุ่มทรัพยากรบุคคลผู้ใช้แรงงานก็จะมีโอกาสได้รับการจัดสรรไปสู่การจ้างงานต่างๆมากยิ่งขึ้น โดยสรุป ในส่วนของสินค้าที่ได้รับการลดอากรนำเข้า ได้แก่ ลดหรือเลิกเก็บภาษีนำเข้าเครื่องจักรเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้ในการอุตสาหกรรม สินค้าอาหารทั่วๆไป เช่น ผัก ผลไม้ อาหารทะเล นม ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม cereal เครื่องเทศ และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลทุกประเภท ลดภาษีนำเข้าสิ่งทอบางรายการจาก 55% เหลือ 30% ลดภาษีนำเข้าเครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าว จักรเย็บผ้า ใส้หลอดไฟฟ้า ที่นอน(mattress) ยกเลิกเก็บอากรนำเข้าเนื้อสัตว์ทุกชนิด สัตว์มีชีวิต อาหารสัตว์ต่างๆ เช่น กากถั่วเหลือง เศษมันสำปะหลัง รำข้าวและข้าวโพด และสำหรับวัตถุดิบต่างๆ กว่า 1,400 รายการ เช่น สารเคมี แร่ต่างๆ ธาตุโลหะพื้นฐาน และผลิตภัณฑ์สิ่งทอบางรายการ

ภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ผู้มีรายได้ต่ำกว่าปีละ 2,500 เหรียญมาเลเซีย ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคล อัตราภาษีเงินได้ส่วนบุคคลระดับที่สูงสุดคือ ร้อยละ 32

ภาษีรายได้บริษัท (Corporate Tax) จัดเก็บในอัตราร้อยละ 30

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

-ค่าใช้จ่ายในการสร้างตรายี่ห้อเครื่องหมายการค้าของนิติบุคคลต่างๆ สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้

-รายได้จากการลงทุนในต่างประเทศของบริษัทมาเลเซียจะได้รับการยกเว้นจากมาตรการทางภาษี (ไม่รวมกิจการการธนาคาร การประกันภัย การขนส่งทางอากาศและทางทะเล)

4.2.2 มาตรการที่มิใช่ภาษี ได้แก่

-การเข้มงวดการนำเข้าเหล็กลวด (wire rod) โดยหน่วยงานรัฐจะแจ้งเรื่องให้ผู้ผลิตเหล็กลวดในประเทศพิจารณาให้ความเห็นก่อนออกเอกสารอนุญาตให้นำเข้าได้ เป็นการเพิ่มขั้นตอนการอนุญาตนำเข้าเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศ มาตรการดังกล่าวส่งผลกระทบให้ผู้ผลิตเหล็กลวดไทยไม่สามารถส่งเหล็กลวดไปขายในมาเลเซียได้ตามปกติ

-ปัจจุบันมาเลเซียเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ(surcharge)นำเข้าถุงอนามัยสูงในอัตรา 10 เซ็นต์มาเลเซียต่อชิ้น ทำให้ราคาขายสินค้าดังกล่าวของไทยสูง ไม่สามารถแข่งขันในตลาดมาเลเซียได้

4.3 พิธีการศุลกากร

ไม่มีปัญหาที่ยุ่งยากเป็นพิเศษ ระเบียบปฏิบัติ ถ้าเป็นสินค้าทั่วๆไป ก็ต้องทำพิธีการโดยกรอกข้อความตามแบบเสียภาษีที่กำหนด ถ้าเป็นสินค้าควบคุมก็ต้องแสดงใบอนุญาตประกอบเอกสารอื่นๆ

ปัจจุบัน ไทยมีด่านศุลการกรที่ควบคุมดูแลการค้าชายแดนไทยกับมาเลเซียจำนวน 11 ด่าน ได้แก่ ด่านศุลกากรสะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา

ด่านศุลกากรปาดังเบซาร์ อ.สะเดา

ด่านศุลกากรสงขลา อ.สิงหนคร จ.สงขลา

ด่านศุลกากรนราธิวาส อ.เมือง จ.นราธิวาส

ด่านศุลกากรตากใบ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส

ด่านศุลกากรสุไหงโกลก อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส

ด่านศุลกากรเบตง อ.เบตง จ.นราธิวาส

ด่านศุลกากรสตูล อ.เมืองสตูล จ.สตูล

ด่านศุลกากรปากบารา อ.ละงู จ.สตูล

ด่านศุลกากรวังประจัน อ.ควนโดน จ.สตูล

ด่านศุลกากรปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี

4.4 ใบอนุญาตนำเข้า

ขอได้จากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

4.5 สิทธิการนำเข้าชั่วคราว

เพื่อ Re-export หรือผลิตเพื่อการส่งออก มีเขตคลังสินค้าทัณฑ์บน และนิคมอุตสากรรมเพื่อการส่งออก โดยเฉพาะที่รัฐปีนัง เป็นต้น

4.6 สินค้าที่ห้ามนำเข้า

ได้แก่สินค้าที่ขัดต่อความมั่นคงและศีลธรรมอันดีของประเทศ เช่น อาวุธปืน ลูกกระสุน ยาเสพติดให้โทษ โดยมีบทระวางโทษที่รุนแรงมากสำหรับผู้กระทำผิดในการนำเข้าสินค้าบางรายการถึงขั้นประหารชีวิต

4.7 การจำกัดปริมาณการนำเข้าสินค้า

การนำเข้าสินค้าโดยทั่วไปไม่มีการจำกัดปริมาณการนำเข้า โดยปล่อยให้ขึ้นกับความต้องการของตลาด แต่อย่างไรก็ดี สินค้าบางชนิด เช่น ข้าว รัฐบาลมาเลเซียกำหนดให้หน่วยงานเอกชนกึ่งรัฐวิสาหกิจ องค์การข้าวเปลือกและข้าวสารแห่งชาติ (Padiberas Nasional Berhad-BERNAS) สังกัดกระทรวงการคลังมาเลเซีย เป็นผู้นำเข้าข้าวแต่ผู้เดียว จึงมีลักษณะกลายเป็นการผูกขาดนำเข้า และสามารถกำหนดราคาและปริมาณการนำเข้าได้ตามต้องการ ผลเสียคือสินค้าข้าวไทยมีราคาในตลาดมาเลเซียสูงกว่าราคาในประเทศไทย

4.8 ข้อกำหนดพิเศษทางการนำเข้า

มีตามชนิดสินค้า เช่น การนำเข้าข้าว ทางรัฐบาลมาเลเซียกำหนดให้องค์การข้าวเปลือกและข้าวสารแห่งชาติ เป็นผู้นำเข้าข้าวแต่ผู้เดียวจึงสามารถกำหนดราคาผูกขาดที่สูงกว่าราคาปกติมาก ห้ามนำเข้าลำไยที่มีสารตกค้างซัลเฟอร์ไดอ๊อกไซด์ ห้ามนำเข้าผักผลไม้ที่มีสารพิษตกค้างเจือปน เป็นต้น

4.9 การควบคุมการจัดซื้อของหน่วยงานรัฐ

โดยส่วนใหญ่จัดซื้อโดยวิธีการประกวดราคา

4.10 การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

เป็นไปอย่างเสรี โดยแลกได้ที่ธนาคารพาณิชย์และร้านแลกเปลี่ยนเงินตรา แต่มีมาตรการควบคุมตลาดปริวรรตเงินตรา (exchange control) โดยเมื่อต้นเดือนตุลาคม 2541 รัฐบาลมาเลเซียได้ออกประกาศกำหนดให้ชาวมาเลเซียสามารถนำเงินตราต่างประเทศออกนอกประเทศมาเลเซียโดยต้องกรอกแบบฟอร์ม ณ ด่านศุลกากรขาออก ในวงเงินไม่เกินคนละ 50,000 มาเลเซีย ริงกิต ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลริงกิตในตลาดโลกซึ่งเปลี่ยนแปลงขึ้นหรือลงตามความต้องการซื้อขายในตลาด ก็สามารถติดตามได้จากรายงานข่าวเศรษฐกิจต่างๆ ของโทรทัศน์บางช่อง เช่น ITV ซึ่งมีรายงานทุกเช้า หรือติดตามจากหน้าหนังสือพิมพ์รายวัน เป็นต้น

4.11 มาตรฐานสินค้า

มีข้อกำหนดเรื่องมาตรฐานด้านสุขอนามัยและด้านความปลอดภัยของสินค้า เช่น สินค้าอาหารเป็นต้น

4.12 ข้อกำหนดในการปิดฉลากและเครื่องหมายทางการค้า

-มาเลเซียกำหนดให้การนำเข้าผักผลไม้ไทยต้องปิดฉลากบนสินค้า (Packing and Labelling) ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อผู้ส่งออกไทย เพราะทำให้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงขึ้นและเกิดความล่าช้าในการขนส่ง

4.13 การเดินทางเข้าประเทศ

หนังสือเดินทาง จะต้องมีอายุเหลืออยู่อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3 เดือน นับจากวันที่แสดงความประสงค์จะเดินทางกลับออกมาจากมาเลเซีย

การตรวจลงตรา สำหรับประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนรวมทั้งชาวไทยได้รับสิทธิให้วีซ่าฟรีระยะเวลา 1 เดือน

การยืดระยะเวลาพำนัก ชาวต่างประเทศสามารถขอยืดระยะเวลาพำนักในประเทศมาเลเซียได้นานถึง 6 เดือน

4.14 ปัญหาที่เป็นข้ออุปสรรคทางการค้าอื่นๆ

-การลักลอบนำเข้า-ส่งออกสินค้าที่อยู่ในข่ายควบคุม เช่นการลักลอบนำเข้าน้ำมันปาล์ม หอมหัวใหญ่ กระเทียม หินอ่อน เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบดึงให้ราคาสินค้าดังกล่าวในประเทศตกต่ำลง ทั้งนี้ หลังจากที่ไทยเปิดตลาดภายใต้กฎเกณฑ์ขององค์การค้าโลกโดยกำหนดให้มีการนำเข้าสินค้าบางชนิดได้ตามปริมาณที่กำหนด ภายใต้เงื่อนไขภาษีนำเข้าที่กำหนดและเงื่อนไขอื่นๆ ก็ทำให้ปัญหาดังกล่าวผ่อนคลายลง

-การลักลอบค้าของหนีภาษีระหว่างแนวชายแดน ทำให้รัฐบาลขาดรายได้และทำให้สินค้าที่นำเข้า-ส่งออกโดยเสียภาษีอย่างถูกต้องไม่สามารถแข่งขันจำหน่ายได้ ซึ่งเรื่องนี้ทางรัฐบาลได้มีการทบทวนเรื่องการลดอัตราภาษีนำเข้าให้ต่ำลงเพื่อแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาดังกล่าว

4.15 มาตรการอื่นๆที่มีผลกระทบต่อการค้า และการลงทุนของประเทศ

-จัดตั้งกองทุนส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศ (Domestic Invesment Fund) เพื่อช่วยเหลือพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ

-เพิ่มกองทุนการขนส่งทางเรือ (Shipping Fund)

-ให้การสนับสนุนกิจการประกันภัย โดยจัดให้มี Large/Specialised Risk Ins. Scheme และอนุญาตให้บริษัทต่างชาติมาทำธุรกิจประกันภัยในมาเลเซียได้

-พัฒนาและปรับปรุงท่าเรือน้ำลึก

-จัดตั้ง Industrial Construction Development Fund เพื่อส่งเสริมการส่งออกการบริการด้านการก่อสร้าง

-ให้บริษัทส่งออกสินค้า สามารถเก็บเงินบางส่วนจากรายได้ในการส่งออกเป็นเงินตราต่างประเทศได้ โดยให้เปิดบัญชีกับธนาคารในประเทศมาเลเซียที่ได้รับการอนุมัติ

-การกู้เงินตราต่างประเทศที่ต่ำกว่า 5 ล้านเหรียญมาเลเซีย ไม่ต้องขออนุมัติจากรัฐบาล

5. ลู่ทางการส่งออก

5.1 กลยุทธ์การเข้าสู่ตลาด/วิธีส่งเสริมการขายที่เหมาะสม

-การจัดทำข้อตกลงทางการค้า (Bilateral Trade Agreement) เพื่อเป็นการส่งเสริมการขยายการค้าระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น

-การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee) เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าแบบทวิภาคีระหว่างไทย-มาเลเซียอย่างเป็นรูปธรรม

-การเจรจาขอให้มาเลเซียพิจารณาทบทวนข้อตกลงการส่งสินค้าผ่านแดนมาเลเซียไปสิงคโปร์ เพื่อให้ไทยสามารถขนส่งสินค้าบางตัว อาทิ เช่น เนื้อไก่ นมและผลิตภัณฑ์นม ผ่านแดนมาเลเซียได้ เพราะเป็นการขนส่งไปขายที่สิงคโปร์ไม่กระทบกระเทือนต่อตลาดภายในมาเลเซีย

-ผลักดันให้เกิดโครงการความร่วมมือภายใต้โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย เพื่อขยายตลาดการค้าระหว่างกัน อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

-ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสภาธุรกิจไทย-มาเลเซีย เพื่อเป็นการประสานความร่วมมือของภาครัฐบาลและเอกชนระหว่างประเทศทางการค้าและการลงทุน โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้จัดตั้งและภาครัฐบาลให้การสนับสนุน

-ส่งเสริมการค้าชายแดน เนื่องจากมีพรมแดนติดต่อกันทั้งทางบกและทางนำ เพื่อมุ่งส่งเสริมการค้าระหว่างกัน ทั้งนี้ ในปี 2539 ทั้งสองประเทศมีปริมาตรการค้าชายแดนระหว่างกันถึง 19,451 ล้านบาท (โดยไทยส่งออกไปมาเลเซีย 15,558 ล้านบาท นำเข้า 3,892 ล้านบาท ได้เปรียบดุลการค้าชายแดน 11,666 ล้านบาท) ซึ่งลดลงจากเดิมมาก(ปี 2537 และ 2538 ปริมาตรการค้า 66,261 ล้านบาท และ 38,779 ล้านบาท ตามลำดับ) โดยการดำเนินการตามโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย ( Indonesian-Malaysian-Thai Growth Triangle = IMT-GT ) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนทางเศรษฐกิจในระดับอนุภูมิภาค โดยมีพื้นที่ครอบคลุม เกาะสุมาตราตอนเหนือและเขตอาเวซ์ของอินโดนีเซีย ตอนเหนือของมาเลเซีย(ได้แก่รัฐปลิส เคดาห์ ปีนัง และเปรัค) และ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย(สงขลา นราธิวาส ยะลา สตูล ปัตตานี) โดยภายในเขตดังกล่าว ภาครัฐจะให้การสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานต่างๆเพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกทางการค้าให้แก่ภาคเอกชน ผู้ประกอบการค้าตามชายแดน ในเรื่องการคมนาคม สาธารณูปโภค การสื่อสาร วิชาการ การเงินและการธนาคาร ตลอดจนความช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีต่างๆ และส่งเสริมให้มีการค้าและการร่วมลงทุนตามบริเวณชายแดนมากยิ่งขึ้น โดยการจัดงานแสดงสินค้า การจัดตั้ง one stop service การเพิ่มจุดผ่านแดน ตลอดจนการปรับระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่เป็นอุปสรรคต่อการทำการค้าชายแดน เป็นต้น ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตุว่าภาวะการค้าชายแดนนี้ ประเทศไทยมีการส่งออกมากกว่าการนำเข้า โดยสัดส่วนการส่งออกเทียบกับการนำเข้าอยู่ในระดับประมาณ 8 : 2 โดยสินค้าออกที่สำคัญคือ ยางพารา สัตว์แช่เย็น/แช่แข็ง อาหารกระป๋อง ผักผลไม้สด บะหมี่ วุ้นเส้น และเส้นหมี่สำเร็จรูป ขนสัตว์ ฯ โดยส่วนหนึ่งเป็นการขนส่งผ่านมาเลเซียไปยังตลาดในประเทศที่สาม เช่น สิงคโปร์ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ฯ

-ไทยควรเน้นส่งเสริมการส่งออกสินค้าที่เป็นปัจจัยสี่ คือ สินค้าประเภทอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค วัสดุในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย และสินค้าอื่นๆที่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิต รวมทั้งสินค้าประเภทผักผลไม้ต่างๆที่มาเลเซียผลิตไม่ได้หรือไม่พอเพียงต่อการบริโภคในประเทศ เนื่องจากมาเลเซียคาดการณ์ว่าจะมีประชากรเพิ่มขึ้นจาก 22.4 ล้านคน ในปัจจุบัน เป็น 70 ล้านคนในปี 2568 และประเทศไทยมีความได้เปรียบในเรื่องการขนส่งสินค้าไปยังตลาดนี้มาก โดยเฉพาะในปัจจุบันมาเลเซียมุ่งเน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวมากจึงน่าจะเป็นโอกาสดีในการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวในมาเลเซียมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ สินค้าที่น่าจะมีศักยภาพในการส่งออกไปมาเลเซียได้มาก ได้แก่ สินค้าประเภทที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม เช่น ผลิตภัณฑ์พลาสติก และเคมีภัณฑ์ต่างๆ เพราะมาเลเซียมีแผนการที่มุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม และสินค้าประเภท วัสดุก่อสร้าง เครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ สำหรับรองรับความต้องการใช้ในโครงการปรับปรุงและพัฒนาชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกภายในเขต 5 กิโลเมตร ตั้งแต่รัฐปลิส ถึงรัฐยะโฮร์ ซึ่งเป็นโครงการระยะยาวของรัฐบาลมาเลเซีย

5.2 รสนิยม ความต้องการสินค้า พฤติกรรมผู้บริโภคทั่วไป

รสนิยมมีทั้งที่เป็นรสนิยมเฉพาะประเพณีท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ เป็นรสนิยมแบบมาเลย์ (Malay Style) และปฏิบัติตามหลักของศาสนาอิสลาม รสนิยมที่เป็นสากลจะมีรูปแบบเหมือนกับประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งรสนิยมประจำเชื้อชาติเดิมของประชาชนในประเทศ เช่น รสนิยมในรูปแบบจีน (Chinese Style) อินเดีย และทมิฬ เป็นต้น ทำให้เกิดความต้องการอุปโภคบริโภคสินค้าตามรูปแบบรสนิยมขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆกัน

5.3 ช่องทางการจำหน่าย

นอกจากการจำหน่ายโดยผู้นำเข้าโดยทั่วไปแล้ว การจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายก็เป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้ตลาดขยายตัวออกไปได้ เพราะตัวแทนจำหน่ายจะเป็นผู้ทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ แต่การเลือกตัวแทนจำหน่ายจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังด้วย

5.4 เทคนิคการเจรจาการค้า (ทางการและไม่เป็นทางการ)

เทคนิคการเจรจาการค้าในระยะเริ่มแรกโดยวิธีที่ไม่เป็นทางการอาจจะได้ผลมากกว่าและประหยัดกว่า เพราะการเจรจาอย่างเป็นทางการจะต้องมีขั้นตอนพิธีการโดยบางครั้งยังไม่สามารถพูดจากันได้อย่างตรงไปตรงมา อย่างไรก็ตาม เมื่อการเจรจาอย่างไม่เป็นทางการสำเร็จลุล่วงไปแล้ว การตกลงอย่างเป็นพิธีการก็อาจมีขึ้นได้ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในข้อตกลงต่างๆ ในกรณีที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ข้อตกลงยิ่งควรจะต้องมีการกระทำอย่างเป็นทางการ คือมีการลงนามต่อหน้าพยาน ซึ่งมักจะมีการเชิญแขกมาร่วมงานเลี้ยงเพื่อเป็นเกียรติและสักขีพยาน

5.5 ข้อควรรู้อื่นๆ สำหรับผู้ที่จะไปเยือนมาเลเซีย

เงินตรา ใช้เงินสกุลริงกิต (Ringgit) 1 ริงกิต = 100 เซน (sen)

วันชาติ คือ วันที่ 31 สิงหาคม (ค.ศ. 1957)

การแต่งกาย ข้าราชการและนักธุรกิจนิยมใส่ชุดสากลหรือชุดซาฟารี สำหรับงานเลี้ยงที่ค่อนข้างเป็นทางการต่างๆส่วนใหญ่ใช้ชุดสากลหรือใช้เสื้อบาติกประจำชาติแขนยาว

พุทธศาสนาในประเทศมาเลเซีย

มาเลเซียเคยได้รับอิทธิพลของพระพุทธศาสนามาในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย แต่ต่อมาศาสนาอิสลามได้เข้ามาแพร่หลายอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมาทำให้พุทธศาสนาหมดความสำคัญไป

ในปัจจุบัน การนับถือพระพุทธศาสนาในมาเลเซียมีอยู่เฉพาะในบรรดาผู้ที่รับเชื้อสายมาจาก ชาวจีน ลังกา พม่า และไทย และมีวัดและสำนักสงฆ์ตั้งอยู่ในบางแห่ง เช่น ที่เมืองกัวลาลัมเปอร์และเมืองปีนัง มีวัดไทยตั้งอยู่และมีพระสงฆ์ไทยไปจำพรรษาอยู่ที่นั่น วัดไทยที่กัวลาลัมเปอร์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ ด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซีย เรียกชื่อว่า วัดเชตวัน สร้างเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยสวยงามมาก วัดไทยที่ปีนัง ชื่อ วัดไชยมังคลาราม เป็นวัดไทยที่เก่าแก่ ยังไม่ทราบปีที่สร้างแน่นอน วัดนนี้มีปูชนียสถานสำคัญ เช่น พระพุทธไสยาสน์ และวิหารพระพุทธเจดีย์

ซึ่งถือว่าใหญ่ที่สุดในเกาะปีนัง.

พระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซีย

มาเลเซียเคยได้รับอิทธิพลของพระพุทธศาสนามาในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย แต่ต่อมาศาสนาอิสลามได้เข้ามาแพร่หลายอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมาทำให้พุทธศาสนาหมดความสำคัญไป

ในปัจจุบัน การนับถือพระพุทธศาสนาในมาเลเซียมีอยู่เฉพาะในบรรดาผู้ที่รับเชื้อสายมาจาก ชาวจีน ลังกา พม่า และไทย และมีวัดและสำนักสงฆ์ตั้งอยู่ในบางแห่ง เช่น ที่เมืองกัวลาลัมเปอร์และเมืองปีนัง มีวัดไทยตั้งอยู่และมีพระสงฆ์ไทยไปจำพรรษาอยู่ที่นั่น วัดไทยที่กัวลาลัมเปอร์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ ด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซีย เรียกชื่อว่า วัดเชตวัน สร้างเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยสวยงามมาก วัดไทยที่ปีนัง ชื่อ วัดไชยมังคลาราม เป็นวัดไทยที่เก่าแก่ ยังไม่ทราบปีที่สร้างแน่นอน วัดนนี้มีปูชนียสถานสำคัญ เช่น พระพุทธไสยาสน์ และวิหารพระพุทธเจดีย์ ซึ่งถือว่าใหญ่ที่สุดในเกาะปีนัง.

บทนำการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

บรรดาศาสนาสำคัญที่มีผู้นับถือเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน พระพุทธศาสนานับว่าเป็นศาสนาที่มีอายุเก่าแก่เป็นอันดับสองรองจากศาสนาพราหมณ์ที่ดำรงอยู่ในรูปของศาสนาฮินดู พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในโลกเมื่อ ๔๕ ปีก่อนพุทธศักราช (พุทธศักราชเริ่มนับ ๑ ถัดจากปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน) ในดินแดนชมพูทวีปซึ่งในปัจจุบันได้แก่ ประเทศอินเดีย และเนปาล โดดยเริ่มขึ้นในวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่พวกปัญจวัคคีย์ ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือนอาสาฬะ (ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘) จากวันนั้นเป็นต้นมา พระพุทธเจ้าได้เสด็จจาริกออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วชมพูทวีป โดยในระยะแรกพระองค์เสด็จออกเผยแผพระองค์เดียว เมื่อมีสาวกมากขึ้น ก็ให้พุทธสาวกออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วย ทำให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายไปในชมพูทวีปอย่างรวดเร็ว ชาวชมพูทวีปพากันละทิ้งลัทธิเดิมแล้วหันมานับถือเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น เป็นลำดับ

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๓ พระเจ้าอโศกมหาราชผู้ปกครองประเทศอินเดียในสมัยนั้น มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก

พระองค์ได้ทรงให้ความอุปถัมภ์โดยทรงจัดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ ขึ้นในปี พ.ศ.๒๓๖ ณ วัดอโศการาม นครปาฏลีบุตร แคว้นมคธ (ปัจจุบันคือ เมืองปัตนะ เมืองหลวงของรัฐพิหาร) ทรงอาราธนาพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน หลังจากสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยเสร็จสิ้นแล้ว พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้จัดคณะพระธรรมทูตออกเป็น ๙ คณะแล้วส่งไปประกาศพระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆดังนี้

คณะที่ ๑ มีพระมัชฌันติกเถระเป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นกัษมิระ คือ รัฐแคชเมียร์ ประเทศอินเดียปัจจุบัน และแคว้นคันธาระ ในปัจจุบัน คือ รัฐปัญจาป ทั้งของประเทศอินเดียและประเทศปากีสถาน

สายที่ 2 พระมหาเทวเถระ เป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นมหิสมณฑ,ปัจจุบัน ได้แก่ รัฐไมเซอร์และดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโคธาวารี ซึ่งอยู่ในตอนใต้ประเทศอินเดีย

สายที่ 3 พระรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ วนวาสีประเทศ ในปัจจุบันได้แก่ ดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย

สายที่ 4 พระธรรมรักขิตเถระ หรือพระโยนกธรรมรักขิตเถระ (ซึ่งเข้าใจกันว่าเป็นฝรั่งคนแรกในชาติกรีกที่ได้เข้าบวชในพระพุทธศาสนา)เป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ อปรันตกชนบทปัจจุบันสันนิษฐานว่าคือดินแดนแถบชายทะเลเหลือเมืองบอมเบย์

สายที่ 5 พระมหาธรรมรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นมหาราษฎร์ ปัจจุบัน ได้แก่ รัฐมหาราษฎร์ของประเทศอินเดีย

สายที่ 6 พระมหารักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในเอเซ๊ยกลาง ปัจจุบันได้แก่ ดินแดนที่เป็นประเทศอิหร่านและตูรกี

สายที่ 7 พระมัชฌิมเถระ พร้อมด้วยคณะ คือพระกัสสปโคตรเถระ

พระมูลกเทวเถระ พระทุนทภิสสระเถระ และพระเทวเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนแถบภูเขาหิมาลัย สันนิษฐานว่า คือ ประเทศเนปาล

สายที่ 8 พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งปัจจุบันคือ ประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน เช่น พม่า ไทย ลาว เขมร เป็นต้น

สายที่ 9 พระมหินทเถระ (โอรสพระเจ้าอโศกมหาราช) พร้อมด้วยคณะ คือพระอริฏฐเถระ พระอุทริยเถระ พระสัมพลเถระ และพระหัททสารเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ลังกาทวีป ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ กษัตริย์แห่งลังกาทวีป ปัจจุบัน คือ ประเทศศรีลังกา

สถานภาพการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของต่างประเทศ

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซียเป็นประเทศหนึ่งในเอเซีย ที่กำลังพัฒนาเพื่อก้าวสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ โดยในปี 2513 ได้จัดทำนโยบายเศรษฐกิจใหม่ (New Economy Policy : NEP) และในปี 2534 ได้จัดทำนโยบายการพัฒนาใหม่ (New Development Policy : NDP) ในการสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นระบบ และปัจจัยสำคัญในการบรรลุเป้าหมายของชาติ คือ การให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

แผนพัฒนาการศึกษาของมาเลเซีย มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาในอนาคตระยะยาว (The Second Outline Perspective Plan : 1991-2001) แผนพัฒนาฉบับที่ 7 (The Seventh Development Plan) และวิสัยทัศน์ 2020 (Vision 2020) ของผู้นำประเทศ ซึ่งเน้นการให้ความสำคัญสูงสุดต่อทรัพยากรมนุษย์ ให้มีขีดความสามารถอันเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้ประเทศก้าวสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาอย่างยั่งยืนได้

มิติใหม่ของแผนพัฒนาได้เน้นบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใน 2 ประเด็น คือ

1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการยกระดับสมรรถนะการผลิตด้านแรงงานโดยการฝึกอบรมและพัฒนาส่งเสริมความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และการจัดการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2. การเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยในแผนได้ส่งเสริมให้มีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านสารสนเทศและด้านกายภาพระดับโลก ในการที่จะทำให้มาเลเซียเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคนี้

การจัดการศึกษา

ในปี 1996 มาเลเซียได้ออกประกาศการศึกษา (1996 Educational Bill) กำหนดให้การศึกษาก่อนวัยเรียน เป็นส่วนหนึ่งในระบบการศึกษาสายสามัญ โดยให้อยู่ในความดูแลของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรอาสาสมัคร

ระดับประถมศึกษา

มีการใช้หลักสูตรประถมศึกษาแผนใหม่ (The New Primary School Curriculum) ซึ่งเน้นทักษะพื้นฐาน 3 ประการ คือ 3Rs : Reading, Writing และ Arithmetic และบังคับใช้ทั่วประเทศ ในปี 1988 เพราะจากหลักฐานที่พบว่า เมื่อเด็กจบประถมศึกษา ใช้เวลา 6 ปี ไม่สามารถอ่าน และเขียน ตลอดจนคิดเลขคณิตได้ นอกจากนี้ยังได้มีการดำเนินการสอดแทรกพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในชั้น ป.1 – 3 และแยกเป็นรายวิชาเฉพาะในชั้น ป. 4-6

ระดับมัธยมศึกษา

1. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

2. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

1. สายสามัญ ได้มีการเร่งจำนวนนักเรียนเข้าเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้น หัวข้อเรื่อง “การประดิษฐ์” จะสอดแทรกในรายวิชา “The living skills subject” ในมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อให้นักเรียนมีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และมีการปรับปรุง เนื้อหาหลักสูตรคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้ทันสมัย

2. สายเทคนิค ได้มุ่งผลิตนักเรียนคุณภาพ มีความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมเพื่อศึกษาต่อสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับที่สูงขึ้น

จากวิกฤตการณ์ความขาดแคลนวิศวกรและช่างฝีมือ รัฐบาลของมาเลเซียได้ ปรับเปลี่ยนมาตรการทางการศึกษาเพื่อสนองความต้องการของประเทศให้ทันการณ์ โดยได้เปลี่ยนโรงเรียนมัธยมสายอาชีวศึกษา 69 แห่ง ให้เป็นโรงเรียนมัธยมสายช่างเทคนิค

การศึกษาวิชาชีพครู ในช่วงแผนฯ 7 จะเพิ่มจำนวนครูให้มีคุณภาพในสายวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ

ระดับอุดมศึกษา

การพัฒนาอุดมศึกษาในช่วงแผนฯ 7 จะมุ่งเน้นความสามารถที่จะรองรับการศึกษาต่อในสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมและเทคนิค ตลอดจนเพิ่มศักยภาพที่จะทำการวิจัยและพัฒนา ตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และการบริการ โดยคาดหมายว่า จำนวนผู้สำเร็จปริญญาตรีสายวิทยาศาสตร์จะมีสัดส่วนทัดเทียมกับสายศิลป์ และสายช่างเทคนิค ซึ่งเป็นการแสดงถึงแนวโน้มที่ดีขึ้นกว่าแผนพัฒนาฉบับที่ผ่านมา

การฝึกอบรม

รัฐบาลมาเลเซียได้ให้ความสำคัญในการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะ เฉพาะอย่างยิ่ง ในสายวิชาทางวิศวกรรมและช่างกล รวมทั้งให้มีการฝึกอบรมในสาขาใหม่ ๆ พร้อมทั้งขยายหลักสูตรให้สูงขึ้น ทั้งนี้ได้สนับสนุนให้ภาคเอกชนสร้างสถาบันฝึกอบรมให้กับพนักงาน โดยในช่วงแผนฯ 7 จะสร้างสถาบันฝึกอบรมทักษะระดับสูง 9 แห่ง โดยร่วมกับศูนย์ฝึกทักษะ และองค์กรนิติบุคคล เปิดสอนด้านอิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการผลิต การผลิตอุปกรณ์เครื่องบิน บริการด้านการสร้างเรือ และซ่อมบำรุง พร้อมกันนี้ยังได้จัดสรรงบประมาณในการสร้างสถาบันทักษะเยาวชนแห่งชาติ 6 แห่ง สถาบันการฝึกอบรมทักษะงานอุตสาหกรรม 5 แห่ง โดยคาดว่า เมื่อสิ้นแผน สถาบันการฝึกอบรมของภาครัฐทั้งหมด จะผลิตแรงงานฝีมือจำนวนประมาณ 200,000 คน

มาตรการเร่งด่วนอีกมาตรการหนึ่ง คือ ให้องค์กร NVTC (The National Vocational Training Council) พัฒนามาตรฐานทักษะในการประกอบวิชาชีพของชาติ โดยแบบแผนหลักสูตรสำหรับการฝึกฝนทักษะ จะให้ความสำคัญกับรายวิชาด้านเทคโนโลยีชั้นสูงเป็นอันดับแรก เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้รัฐบาลมาเลเซียได้ให้ความสำคัญกับบุคลากรผู้สอนในสถาบันฝึกอบรมของรัฐ ตั้งแต่ปรับปรุงค่าจ้าง เงื่อนไขการทำงาน สัญญาจ้างงาน และมีโครงการฝึกอบรมบุคลากรครูฝึกแห่งชาติ ที่ Centre for Instructor and Advanced Skill Training โดยตั้งเป้าหมายว่า จะผลิตครูฝึกอบรมทักษะชั้นสูง 200 คนต่อปี ทั้งนี้จะพิจารณาเพิ่มจำนวนครูฝึกจากต่างชาติด้วย

 
ที่มา : http://www.google.com

 
   
     

ภาพที่ 1http://images.thaiza.com/38/38_200802291517591..jpg
ภาพที่ 2http://www.thaigoodview.com/sites/all/modules/tinymce/tinymce/jscripts/tiny_mce/blank.htm
ภาพที่ 3http://www.thaigoodview.com/sites/all/modules/tinymce/tinymce/jscripts/tiny_mce/blank.htm

แหล่งอ้างอิง: 

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8

 

เมื่อ พุธ, 11/08/2010 – 17:12 | แก้ไขล่าสุด พุธ, 11/08/2010 – 17:12| โดย wsb4705

 

ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกคือ คาบสมุทรมลายู มีพรมแดนทิศเหนือติดประเทศไทย และทิศใต้ติดกับสิงคโปร์ ส่วนที่สองคือ ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซีย และมีพรมแดนล้อมรอบประเทศบรูไน มาเลเซียเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน

 ภูมิศาสตร์
ลักษณะภูมิประเทศ
1.มาเลเซียตะวันตก มีภูเขาทอดยาวทางตอนกลางเกือบตลอด เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคม ทำให้มีที่ราบ 2 ด้าน ที่ราบด้านตะวันตกกว้างกว่า เป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ เขตปลูกยางพารา และขุดแร่ดีบุก
2.มาเลเซียตะวันออก ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ที่ราบสูงอยู่ทางตอนใน มีที่ราบย่อม ๆ อยู่ตามชายฝั่งทะเล
 ลักษณะภูมิอากาศ
ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร อยู่ในอิทธิพลของลมมรสุม
 เศรษฐกิจ
1.เกษตรกรรม ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก และข้าวเจ้าปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน
2.การทำเหมืองแร่ แร่ที่สำคัญ ได้แก่ แร่ดีบุกส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกแร่เหล็ก น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ
3.การทำป่าไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ส่งไม้ออกเป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย
4.อุตสาหกรรม ได้ชื่อว่าเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชีย (NICs)
 ประชากร
ประเทศมาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ในอดีตเคยเกิดสงครามกลางเมืองเนื่องจากการกีดกันทางเชื้อชาติ ประเทศมาเลเซียประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูร้อยละ 50.4 เป็นชาวภูมิบุตร (Bumiputra) คือบุตรแห่งแผ่นดิน รวมไปถึงชนดั้งเดิมของประเทศอีกส่วนหนึ่ง ได้แก่กลุ่มชนเผ่าในรัฐซาราวัก และรัฐซาบาห์มีอยู่ร้อยละ 11[1] ซึ่งตามรัฐธรรมนูญของมาเลเซียนั้น ชาวมลายูนั้นคือมุสลิม และอยู่ในกรอบวัฒนธรรมมลายู แต่ชาวภูมิบุตรที่ไม่ใช่ชาวมลายูนั้น มีจำนวนกว่าครึ่งของประชากรในรัฐซาราวัก (ได้แก่ชาวอิบัน ร้อยละ 30) และร้อยละ 60 ของประชากรรัฐซาบาห์ (ได้แก่ชาวกาดาซัน-ดูซุน ร้อยละ 18 และชาวบาเจา ร้อยละ 17)[1] นอกจากนี้ยังมีชนพื้นเมืองดั้งเดิมของคาบสมุทรมลายูอีกกลุ่มหนึ่ง คือ โอรัง อัสลี

ประชากรกลุ่มใหญ่ที่ไม่ใช่ชาวภูมิบุตรหรือชนดั้งเดิมเป็นพวกที่เข้ามาใหม่ โดยเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน มีอยู่ร้อยละ 23.7 ซึ่งมีประจายอยู่ทั่วประเทศ มีชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย อีกร้อยละ 7.1 ของประชากร[1] ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวทมิฬ แต่ยังมีชาวอินเดียกลุ่มอื่น อย่างเกรละ, ปัญจาบ, คุชรัต และปาร์ซี นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย โดยอาศัยอยู่ในรัฐทางตอนเหนือของประเทศ มีคนเชื้อสายชวา และมินังกะเบาในรัฐทางตอนใต้ของคาบสมุทรอย่าง รัฐยะโฮร์

ชุมชนลูกครึ่งคริสตัง (โปรตุเกส-มลายู) ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และชุมชนลูกครึ่งอื่นๆอย่าง ฮอลันดา และอังกฤษส่วนมากอาศัยในรัฐมะละกา ส่วนลูกครึ่งเปอรานากัน หรือชาวจีนช่องแคบ (จีน-มลายู) ส่วนมากอาศัยอยู่ในรัฐมะละกา และมีชุมชนอยู่ในรัฐปีนัง

วัฒนธรรม
มีสภาพคล้ายคลึงกับประเทศอินโดนีเชีย ชึ่งเป็นหมู่เกาะอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้แพร่เข้ามาในแหลมมลายู ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม 55% นับถือศาสนาพุทธ 25% นับถือศาสนาคริสต์ 13% นับถือศาสนาฮินดู 7% และลัทธิศาสนาพื้นเมือง 4% แต่การหันไปนับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามเป็นปัญหาอย่างมากเนื่องจากทางภาครัฐจะไม่เปลี่ยนข้อมูลทางราชการให้ มาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะมีสิทธิพิเศษ คือ ได้รับเงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณะสุข การคลอดบุตร งานแต่งงานและงานศพตามนโยบาย “ภูมิบุตร”

ประเทศมาเลเซีย

 
 

 

 
 ข้อมูลของ…

ประเทศมาเลเซีย

เมืองหลวงชื่อ กัวลาลัมเปอร์

ลักษณะการปกครอง ประชาธิปไตย มีกษัตริย์เป็นประมุข

จำนวนประชากร ประมาณ 22.6 ล้านคน

เชื้อชาติ พลเมืองส่วนใหญ่มีเชื้อชาติมลายู นอกนั้นเป็นชาวจีน ชาวอินเดีย ชาวเขาเผ่าต่างๆ เลือดผสมมลายูกับโปรตุเกส มลายูกับฮอลันดา มลายูกับอังกฤษ

ศาสนา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม

ภาษาที่ใช้ ภาษาอังกฤษ

ภูมิประเทศ

มาเลเซียตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยดินแดน 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ มาเลเซียตะวันตก และมาเลเซียตะวันออก อยู่ห่างกันประมาณ 400 ไมล์ โดยมีทะเลจีนใต้ขวางกั้น เดิมเป็นดินแดนที่มีการปกครองต่างหากจากกัน ได้มารวมเป็นประเทศเดียวกันเมื่อ พ.ศ. 2506 มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 130,000 ตารางไมล์

มาเลเซียตะวันตก ได้แก่ ดินแดนที่อยู่ในคาบสมุทรมลายูหรือมลายา ติดชายแดนทางใต้ของประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 50,800 ตารางไมล์ประกอบด้วยรัฐต่างๆ 11 รัฐ ตอนกลางเป็นที่ราบสูง มีภูเขาใหญ่หลายเทือก ปกคลุมด้วยป่าทึบบริเวณกว้างขวาง แถบริมฝั่งทะเลทั้ง 2 ข้างเป็นที่ราบ ดินอุดมสมบูรณ์ ชายฝั่งทะเลตะวันตกเป็นหาดเลนยาวพื้นที่มีหล่มบึงมาก

ส่วนด้านตะวันออกเป็นหาดทรายยาวเหยียด ไม่เหมาะแก่การเป็นท่าเรือ มาเลเซียตะวันออกได้แก่ ดินแดนทางภาคเหนือของเกาะบอร์เนียว มีเนื้อที่ประมาณ 70,200 ตารางไมล์ ประกอบด้วยรัฐ 2 รัฐคือ ซาราวัก และซาบาห์ (บอร์เนียวเหนือ) พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่สูง ประกอบด้วยป่าทึบและภูเขาสูงใหญ่ บางยอดเขาสูงเกินกว่าหมื่นฟุตมีที่ราบขนาดย่อมอยู่ตามริมฝั่งทะเล แม่น้ำมักเป็นสายสั้นๆ และไหลเชี่ยว ผ่านหุบเขาที่แคบและลาดชันไปออกทะเลทางทิศตะวันตก

ประวัติด้านกีฬา

มาเลเซียเป็นประเทศที่เข้าร่วมทำการแข่งขันนับตั้งแต่การแข่งขันซีเกมส์ถือกำเนิดในปี ค.ศ. 1959 ที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพ และส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันทุกครั้งเรื่อยมา เคยได้รับคัดเลือกเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน 4 ครั้ง ได้แก่ ซีเกมส์ครั้งที่ 3 ช่วงระหว่างวันที่ 14-21 ธันวาคม ค.ศ. 1965, ซีเกมส์ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 11-16 ธันวาคม ค.ศ. 1971, ซีเกมส์ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 9-16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1977 และซีเกมส์ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 20-31 สิงหาคม ค.ศ. 1989 โดยจัดขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์

สรุปเหรียญรางวัลที่เคยได้รับจากการแข่งขัน

เหรียญทอง 605 เหรียญ

เหรียญเงิน 749 เหรียญ

เหรียญทองแดง 1002 เหรียญ

ประเทศมาเลเซีย

(MALAYSIA)

1. ข้อมูลพื้นฐาน

ประชากร 23.8 ล้านคน

พื้นที่ 330,433 ตารางกิโลเมตร

เชื้อชาติ มาเลย์ (58%), จีน (26 %), อินเดียน (7%)

อื่นๆ (9 %)

ศาสนา มุสลิม (58 %) พุทธ (30 %) ฮินดู (8 %) คริสต์เตียน เต๋า และศาสนาประจำเผ่าของชนชาวเผ่าส่วนน้อยในประเทศ เช่น ศาสนาของกลุ่มชาวเงาะป่าซาไก เป็นต้น

ภาษา มาเลย์ (ภาษาราชการ) อังกฤษ จีนต่างๆ ภาษาทมิฬ และภาษาประจำเผ่าของชนชาวเผ่าส่วนน้อยในประเทศ

เมืองหลวง กรุงกัวลาลัมเปอร์

เมืองศูนย์กลางธุรกิจ อิโปห์ มะลักกา บูหารู คลาง ปีนัง กัวลาลัมเปอร์

เมืองท่า Port Klang และปีนัง

ระบอบการปกครอง ประชาธิปไตย แบบรัฐสภาโดยมีพระมหากษัตริยเป็นองค์พระประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญการปกครองประเทศแบบสหพันธ์รัฐ(Federation) แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 รัฐ คือ เปรัค ปาหัง สลังงอร์ ไทรบุรี เคดาห์ เนกรีเซมบิลัน ยะโฮร์ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง มะละกา ซาบาห์ และซาราวัค รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรซึ่งสมาชิกมาจากการเลือกตั้ง และวุฒิสภาซึ่งสมาชิกได้รับการแต่งตั้งโดยสมเด็จพระราชาธิบดีอีกส่วนหนึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยนิติบัญญัติในแต่ละรัฐ รัฐบาลปัจจุบันเป็นรัฐบาลผสม มีพรรคร่วมรัฐบาลที่เรียกว่า พรรคแนวร่วมแห่งชาติ (Barisan Nasional-BN) ซึ่งมีพรรค UMNO (United Malays National Organisation) เป็นแกนนำ

ประมุขของประเทศ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย ตวนกู จาฟา อัลมารุม ตวนกู อับดุล ราห์มาน (Tuanku Ja’afar Almarhum Tuanku Abdul Rahman, Yang Di Pertuan Agong ) เป็นองค์พระประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยเลือกตั้งจากสุลต่านผู้ปกครองรัฐ ซึ่งมีใน 9 รัฐ (ยกเว้นปีนัง มะละกา ซาบาห์ และซาราวัก) ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี

นายกรัฐมนตรี Y.A.B. Dato’ Seri Dr. Mahathir bin Mohammad ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2524

วันชาติ 31 สิงหาคม

ทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมันดิบ ก๊าสธรรมชาติ ดีบุก ไม้ ทองแดง เหล็ก บ็อกไซด์

ผลผลิตทางการเกษตร ยางพารา นำมันปาล์ม โกโก้ ข้าว พริกไทย สับปะรด

อุตสาหกรรมหลัก เครื่องไฟฟ้าและอิเล็กโทรนิกส์ สิ่งทอ ยางพารา รถยนต์ นำมัน ไม้

สินค้าเข้าสำคัญ ไม้แปรรูป เครื่องยนต์และอุปกรณ์ ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช เครื่องใช้ไฟฟ้า สัตว์น้ำมีชีวิต ผัก ส่วนประกอบโครงรถและตัวถัง เครื่องจักรไฟฟ้าในการผลิตและส่วนประกอบ ไม้หมอนหนุนรางรถไฟ ดอกไม้สด อาหาร อุปกรณ์ขนส่ง เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก หนังดิบและหนังฟอก

สินค้าออกสำคัญ นำมันปิโตรเลียม เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยางพาราไม้แปรรูป สิ่งทอ ดีบุก แก๊สธรรมชาติ นำมันปาล์ม สัตว์น้ำมีชีวิต อาหารทะเลกระป๋องแปรรูป ผักสดผลไม้ ปลาป่น รถยนต์ ขนสัตว์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป สายเคเบิ้ล อิฐ

2. เศรษฐกิจ

ภายหลังจากที่เศรษฐกิจของมาเลเซียมีความเจริญเติบโตอยู่เป็นเวลาหลายทศวรรษก็ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินขึ้นในภูมิภาคในปี 2540-41 อันเป็นผลให้ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของมาเลเซียต้องชะลอตัวลง ในปี 2541 รัฐบาลมาเลเซียคาดการณ์อัตราการขยายตัวของ GDP ไว้เพียงร้อยละ 4-5 ในขณะที่ภาคเอกชนคาดหมายอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไว้เพียงร้อยละ 2 และการที่ค่าของเงินตราสกุลท้องถิ่นรวมทั้งราคาหุ้นในตลาดหุ้นตกลงเป็นอย่างมากก็ยังผลให้ทางรัฐบาลต้องออกมาตรการตัดทอนงบประมาณลงร้อยละ 20 เพื่อลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดลงให้เหลือเพียงร้อยละ 3 ของ GDP ในปี 2541

การตัดทอนงบประมาณดังกล่าว จำเป็นจะต้องลดรายการนำเข้าและชะลอโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ต่างๆลง อันยังผลให้การจ้างงานลดลงไปอีก ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องทำให้รายได้ของกิจการต่างๆของภาคเอกชนลดลงไปอีก

2.1 นโยบายทั่วไป

เนื่องจากมาเลเซียมีรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยพรรคแนวร่วมแห่งชาติ ที่มีเสถียรภาพและบริหารประเทศติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งนำโดย Dr. Mahathir bin Mohamad นโยบายทั่วไปของมาเลเซียจึงค่อนข้างจะคงที่สอดคล้องกันมาโดยตลอด นับจากแผนโครงร่างที่รวมถึงแผนพัฒนาของมาเลเซียฉบับที่ 2 จนถึงแผนพัฒนาของมาเลเซียฉบับที่ 5 ซึ่งดำเนินการภายใต้กรอบนโยบายเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Policy) และต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงแผนพัฒนาของมาเลเซียฉบับที่ 6 (The Sixth Malaysian Plan) ระหว่างปี 2534-2538 และแผนภาพโครงร่างฉบับที่ 2 (The Second Outline Perspective Plan ) ระหว่างปี 2534-2543 โดยมีนโยบายเศรษฐกิจโดยทั่วไปคือ พยายามใช้ระบบงบประมาณสมดุลย์ เพื่อให้งบประมาณรายรับอันประกอบด้วยรายได้จากเงินภาษีอากรและการกู้ยืม เท่ากันกับงบประมาณรายจ่ายอันประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและการใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้การผลิตในประเทศและการนำเข้าตอบสนองความต้องการอันประกอบด้วยความต้องการในประเทศและการส่งออก เพื่อมุ่งในด้านการประหยัดและออมทรัพย์ การส่งเสริมการผลิตในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า การส่งเสริมการส่งออก การควบคุมภาวะเงินเฟ้อ โดยในด้านการลงทุนก็พยายามให้ผู้ผลิตใช้วัตถุดิบในประเทศให้มากขึ้นและพึ่งพาเงินลงทุนจากต่างประเทศให้น้อยลงตามนโยบายการริเริ่มลงทุนภายในประเทศ(The Domestic Investment Initiative) ส่วนในด้านการค้าก็มีนโยบายให้ความช่วยเหลือธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลางโดยการให้เครดิตเงินกู้และการจัดการให้มีตลาดรองรับเพิ่มขึ้น รวมถึงการให้ความรู้ด้านการค้า การจัดระบบการขายส่งและขายปลีกให้ทันสมัยและขยายตัว การปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคและระบบการพลังงาน โดยในส่วนของการค้าระหว่างประเทศก็มีนโยบายเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันกับต่างประเทศเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ต่อมาเลเซีย โดยให้ความสำคัญกลุ่มประเทศต่างๆ คือ ประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียน กลุ่มประเทศอิสลาม (Islamic Countries) ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ กลุ่มประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และกลุ่มประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ

เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (2544)

ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP-PPP) 147.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

อัตราการเจริญเติบโตของ GDP 0.4 %

รายได้ต่อหัว (PPP) 6,205 เหรียญสหรัฐฯ

การส่งออก 87.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

อิเล็คทรอนิกส์และเครื่องจักร 60.6 % ของมูลค่าการส่งออก

ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ 6.7 % ของมูลค่าการส่งออก

เคมีภัณฑ์ 3.9 % ของมูลค่าการส่งออก

สิ่งทอ 2.7 % ของมูลค่าการส่งออก

น้ำมันปาล์ม 2.6 % ของมูลค่าการส่งออก

การนำเข้า 69.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

Intermediate Goods 60 % ของมูลค่าการส่งออก

เครื่องจักร 11.8 % ของมูลค่าการส่งออก

สินค้าอุปโภค 4.6 % ของมูลค่าการส่งออก

สินค้านำเข้าเพื่อการสงออก 1.7 % ของมูลค่าการส่งออก

อุปกรณ์ทางด้านคมนาคม 1.6 % ของมูลค่าการส่งออก

ที่มา : The Economist, May 28 2002

2.2 นโยบายการนำเข้า

รัฐบาลให้ความสำคัญทางการค้ากับประเทศในกลุ่มอาเซียน (INTRA-ASEAN) และโครงการต่างๆภายใต้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศที่สาม ตลอดจนให้สิทธิพิเศษด้านภาษี PTA และวิธีการลดอากรขาเข้าสินค้าตามระบบ CEPT ภายใต้โครงการ “เขตการค้าเสรีอาเซียน” (ASEAN FREE TRADE AREA-AFTA) และให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค (regional economic cooperation) ตามโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย หรือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (Indonesian-Malaysian-Thailand Growth Triangle : IMT-GT)

3. คู่แข่งขันทางการค้า

3.1 คู่ค้าที่สำคัญ

ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของมาเลเซีย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา(20.2%) สิงคโปร์(16.9%) สหภาพยุโรป (13.6%) ญี่ปุ่น(13.3%) ฮ่องกง(4.6%) จีน (4.3%) สหราชอาณาจักร(4%) ไทย(4%) และเยอรมนี(3%) ส่วนประเทศที่เป็นแหล่งนำเข้ารายสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น(19.2%) สหรัฐอเมริกา(16%) สหภาพยุโรป (12.9%) สิงคโปร์ (12.6%) ไต้หวัน(5.7%) จีน (5.2) เยอรมนี(4.3%) และไทย(3.9%)

3.2 คู่แข่งจากอาเซียน

ได้แก่ สิงคโปร์ ซึ่งมีสัดส่วนตลาด 13% สินค้านำเข้ารายการสำคัญคือ แร่ธาตุที่เป็นแหล่งพลังงาน น้ำมันหล่อลื่น เครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง เคมีภัณฑ์ วัสดุที่ใช้ในการอุตสาหกรรม อินโดนีเซีย มีสัดส่วนตลาด 2.5% สินค้านำเข้ารายการสำคัญคือ น้ำมันพืชและสัตว์ อาหาร วัตถุดิบที่ไม่ใช่อาหาร แร่ธาตุพลังงานและน้ำมันหล่อลื่น เคมีภัณฑ์ และสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ และเวียตนาม มีสัดส่วนตลาด 0.2% สินค้านำเข้ารายการสำคัญคือ อาหาร

3.3 สินค้าออก/นำเข้าสำคัญ

-การส่งออก สินค้าออกที่สำคัญคือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ น้ำมันปาล์ม ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ยางพารา

-การนำเข้า สินค้านำเข้ารายการสำคัญคือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ และอาหาร

3.4 การค้ากับประทศไทย

ในปี 2544 ไทยและมาเลเซียมีปริมาตรการค้ารวมกันทั้งสิ้น 5,800.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2543 ร้อยละ 6.31 ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ซบเซาลง

ในช่วง 6 เดือนแรก (มกราคม-มิถุนายน) ของปี 2545 ปริมาตรการค้าระหว่าง 2 ประเทศรวมกันทั้งสิ้น 3,089.69 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.95 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.94 ของมูลค่าการค้ารวมของไทยกับทั่วโลก มาเลเซียนำเข้าสินค้าจากไทยเป็นมูลค่า 1,405.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.36 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งหมดของไทย เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.33 ส่งออกสินค้ามาประเทศไทยเป็นมูลค่า 1,684.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าเป็นมูลค่า 279.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งนับเป็นการขาดดุลต่อเนื่องมาโดยตลอด

รายการสินค้าออกที่สำคัญของไทยไปยังตลาดมาเลเซีย ได้แก่ ยางพารา(180.69 ล้านเหรียญฯ) แผงวงจรไฟฟ้า (264.13 ล้านเหรียญฯ) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (262.35 ล้านเหรียญฯ) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (51.15 ล้านเหรียญฯ) เคมีภัณฑ์ (50.90 ล้านเหรียญฯ) เม็ดพลาสติก (44.76 ล้านเหรียญฯ) น้ำตาลทราย (39.57 ล้านเหรียญฯ) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (36.08 ล้านเหรียญฯ) ข้าว (30.77 ล้านเหรียญฯ) เป็นต้น ส่วนสินค้ารายการสำคัญที่ไทยนำเข้าจากมาเลเซีย ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (482.64 ล้านเหรียญฯ) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ (316.42 ล้านเหรียญฯ) แผงวงจรไฟฟ้า (341.75 ล้านเหรียญฯ) เคมีภัณฑ์ (255.21 ล้านเหรียญฯ) หลอดภาพโทรทัศน์ (269.58 ล้านเหรียญฯ) น้ำมันดิบ (256.59 ล้านเหรียญฯ) ไม้ซุง ไม้แปรรูปและไม้อื่นๆ (130.61 ล้านเหรียญฯ) เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม (118.61 ล้านเหรียญฯ) เครื่องใช้ไฟฟ้า (91.41 ล้านเหรียญฯ) เป็นต้น

3.5 สินค้าไทยที่มีศักยภาพในตลาดสินค้านำเข้ามาเลเซีย

สินค้าออกของไทยไปยังตลาดมาเลเซียรายการสำคัญ ได้แก่ ยางพารา รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ เป็นต้น

นอกจากมาเลเซียจะเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทยแล้ว ยังเป็นคู่แข่งขันทางการค้าที่สำคัญของไทยด้วย เนื่องจากมีสินค้าหลายชนิดที่คล้ายคลึงกันและต้องแข่งขันกันในการส่งออก ได้แก่ ดีบุก ยางพารา เสื้อผ้าสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า กาแฟ และใบยาสูบ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการกีดกันสินค้าบางประเภทระหว่างกันบ้าง เช่น เนื้อไก่แช่เย็นและแช่แข็ง กระจกโฟลต เป็นต้น

4. กฎระเบียบทางการค้า

4.1 ข้อกีดกันทางการค้า

ไม่มีการกีดกันทางการค้าสำหรับประเทศหนึ่งประเทศใด หรือกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดโดยเฉพาะ ทั้งนี้ มาเลเซียมีนโยบายปฏิบัติตามกฎกติกาการค้าและการต่างประเทศสากลตามข้อตกลงในพันธกรณีต่างๆ ทั้งในระดับทวิภาคีและระดับพหุภาคี เช่น ตามข้อตกลงของ AFTA, WTO, UNCTAD และมติของ UN เป็นต้น

4.2 มาตรการทางภาษีและมิใช่ภาษี

4.2.1 มาตรการทางภาษี

อากรนำเข้า อัตราภาษีอากรนำเข้าโดยทั่วไปของมาเลเซียโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ไม่สูงนัก (อยู่ในระดับร้อยละ 9) จึงไม่ถือว่าเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย และภายใต้นโยบายเขตการค้าเสรีอาเซียน นับตั้งแต่ปี 2536 ไทย มาเลเซีย และประเทศอื่นๆในภูมิภาคอาเซียน มีข้อผูกพันที่จะต้องลดอากรขาเข้าสินค้าเกษตรสำเร็จรูปและสินค้าอุตสาหกรรมลงเหลือร้อยละ 0-5 ภายใน 10-15 ปี (ภายใน 10 ปี สำหรับสินค้าที่อยู่ในรายการเร่งลดภาษี และภายใน 15 ปี สำหรับสินค้าซึ่งจัดอยู่ในรายการลดภาษีปกติ) อันจะยังผลให้มีการส่งออก-นำเข้าสินค้าระหว่างกันในปริมาณมากยิ่งขึ้นและมากชนิดขึ้น เกิดการพัฒนาการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้ามากยิ่งขึ้น และมีผลให้บรรยากาศการลงทุนในภูมิภาคดีขึ้น เนื่องจากจะมีการจัดสรรทรัพยากรที่เป็นปัจจัยการผลิตในระหว่างกันได้ดีขึ้น โดยกลุ่มสินค้าที่คาดว่าไทยจะได้รับประโยชน์มากขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ แก้ว กระจก เครื่องหนัง เฟอร์นิเจอร์ ซีเมนต์ วัสดุ/เครื่องมือในการก่อสร้าง ปุ๋ย เยื่อกระดาษ ผักและผลไม้สดต่างๆ เช่น ทุเรียน มะม่วง ลิ้นจี่ ลำไย ผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ รวมทั้งกลุ่มทรัพยากรบุคคลผู้ใช้แรงงานก็จะมีโอกาสได้รับการจัดสรรไปสู่การจ้างงานต่างๆมากยิ่งขึ้น โดยสรุป ในส่วนของสินค้าที่ได้รับการลดอากรนำเข้า ได้แก่ ลดหรือเลิกเก็บภาษีนำเข้าเครื่องจักรเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้ในการอุตสาหกรรม สินค้าอาหารทั่วๆไป เช่น ผัก ผลไม้ อาหารทะเล นม ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม cereal เครื่องเทศ และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลทุกประเภท ลดภาษีนำเข้าสิ่งทอบางรายการจาก 55% เหลือ 30% ลดภาษีนำเข้าเครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าว จักรเย็บผ้า ใส้หลอดไฟฟ้า ที่นอน(mattress) ยกเลิกเก็บอากรนำเข้าเนื้อสัตว์ทุกชนิด สัตว์มีชีวิต อาหารสัตว์ต่างๆ เช่น กากถั่วเหลือง เศษมันสำปะหลัง รำข้าวและข้าวโพด และสำหรับวัตถุดิบต่างๆ กว่า 1,400 รายการ เช่น สารเคมี แร่ต่างๆ ธาตุโลหะพื้นฐาน และผลิตภัณฑ์สิ่งทอบางรายการ

ภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ผู้มีรายได้ต่ำกว่าปีละ 2,500 เหรียญมาเลเซีย ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคล อัตราภาษีเงินได้ส่วนบุคคลระดับที่สูงสุดคือ ร้อยละ 32

ภาษีรายได้บริษัท (Corporate Tax) จัดเก็บในอัตราร้อยละ 30

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

-ค่าใช้จ่ายในการสร้างตรายี่ห้อเครื่องหมายการค้าของนิติบุคคลต่างๆ สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้

-รายได้จากการลงทุนในต่างประเทศของบริษัทมาเลเซียจะได้รับการยกเว้นจากมาตรการทางภาษี (ไม่รวมกิจการการธนาคาร การประกันภัย การขนส่งทางอากาศและทางทะเล)

4.2.2 มาตรการที่มิใช่ภาษี ได้แก่

-การเข้มงวดการนำเข้าเหล็กลวด (wire rod) โดยหน่วยงานรัฐจะแจ้งเรื่องให้ผู้ผลิตเหล็กลวดในประเทศพิจารณาให้ความเห็นก่อนออกเอกสารอนุญาตให้นำเข้าได้ เป็นการเพิ่มขั้นตอนการอนุญาตนำเข้าเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศ มาตรการดังกล่าวส่งผลกระทบให้ผู้ผลิตเหล็กลวดไทยไม่สามารถส่งเหล็กลวดไปขายในมาเลเซียได้ตามปกติ

-ปัจจุบันมาเลเซียเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ(surcharge)นำเข้าถุงอนามัยสูงในอัตรา 10 เซ็นต์มาเลเซียต่อชิ้น ทำให้ราคาขายสินค้าดังกล่าวของไทยสูง ไม่สามารถแข่งขันในตลาดมาเลเซียได้

4.3 พิธีการศุลกากร

ไม่มีปัญหาที่ยุ่งยากเป็นพิเศษ ระเบียบปฏิบัติ ถ้าเป็นสินค้าทั่วๆไป ก็ต้องทำพิธีการโดยกรอกข้อความตามแบบเสียภาษีที่กำหนด ถ้าเป็นสินค้าควบคุมก็ต้องแสดงใบอนุญาตประกอบเอกสารอื่นๆ

ปัจจุบัน ไทยมีด่านศุลการกรที่ควบคุมดูแลการค้าชายแดนไทยกับมาเลเซียจำนวน 11 ด่าน ได้แก่ ด่านศุลกากรสะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา

ด่านศุลกากรปาดังเบซาร์ อ.สะเดา

ด่านศุลกากรสงขลา อ.สิงหนคร จ.สงขลา

ด่านศุลกากรนราธิวาส อ.เมือง จ.นราธิวาส

ด่านศุลกากรตากใบ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส

ด่านศุลกากรสุไหงโกลก อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส

ด่านศุลกากรเบตง อ.เบตง จ.นราธิวาส

ด่านศุลกากรสตูล อ.เมืองสตูล จ.สตูล

ด่านศุลกากรปากบารา อ.ละงู จ.สตูล

ด่านศุลกากรวังประจัน อ.ควนโดน จ.สตูล

ด่านศุลกากรปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี

4.4 ใบอนุญาตนำเข้า

ขอได้จากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

4.5 สิทธิการนำเข้าชั่วคราว

เพื่อ Re-export หรือผลิตเพื่อการส่งออก มีเขตคลังสินค้าทัณฑ์บน และนิคมอุตสากรรมเพื่อการส่งออก โดยเฉพาะที่รัฐปีนัง เป็นต้น

4.6 สินค้าที่ห้ามนำเข้า

ได้แก่สินค้าที่ขัดต่อความมั่นคงและศีลธรรมอันดีของประเทศ เช่น อาวุธปืน ลูกกระสุน ยาเสพติดให้โทษ โดยมีบทระวางโทษที่รุนแรงมากสำหรับผู้กระทำผิดในการนำเข้าสินค้าบางรายการถึงขั้นประหารชีวิต

4.7 การจำกัดปริมาณการนำเข้าสินค้า

การนำเข้าสินค้าโดยทั่วไปไม่มีการจำกัดปริมาณการนำเข้า โดยปล่อยให้ขึ้นกับความต้องการของตลาด แต่อย่างไรก็ดี สินค้าบางชนิด เช่น ข้าว รัฐบาลมาเลเซียกำหนดให้หน่วยงานเอกชนกึ่งรัฐวิสาหกิจ องค์การข้าวเปลือกและข้าวสารแห่งชาติ (Padiberas Nasional Berhad-BERNAS) สังกัดกระทรวงการคลังมาเลเซีย เป็นผู้นำเข้าข้าวแต่ผู้เดียว จึงมีลักษณะกลายเป็นการผูกขาดนำเข้า และสามารถกำหนดราคาและปริมาณการนำเข้าได้ตามต้องการ ผลเสียคือสินค้าข้าวไทยมีราคาในตลาดมาเลเซียสูงกว่าราคาในประเทศไทย

4.8 ข้อกำหนดพิเศษทางการนำเข้า

มีตามชนิดสินค้า เช่น การนำเข้าข้าว ทางรัฐบาลมาเลเซียกำหนดให้องค์การข้าวเปลือกและข้าวสารแห่งชาติ เป็นผู้นำเข้าข้าวแต่ผู้เดียวจึงสามารถกำหนดราคาผูกขาดที่สูงกว่าราคาปกติมาก ห้ามนำเข้าลำไยที่มีสารตกค้างซัลเฟอร์ไดอ๊อกไซด์ ห้ามนำเข้าผักผลไม้ที่มีสารพิษตกค้างเจือปน เป็นต้น

4.9 การควบคุมการจัดซื้อของหน่วยงานรัฐ

โดยส่วนใหญ่จัดซื้อโดยวิธีการประกวดราคา

4.10 การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

เป็นไปอย่างเสรี โดยแลกได้ที่ธนาคารพาณิชย์และร้านแลกเปลี่ยนเงินตรา แต่มีมาตรการควบคุมตลาดปริวรรตเงินตรา (exchange control) โดยเมื่อต้นเดือนตุลาคม 2541 รัฐบาลมาเลเซียได้ออกประกาศกำหนดให้ชาวมาเลเซียสามารถนำเงินตราต่างประเทศออกนอกประเทศมาเลเซียโดยต้องกรอกแบบฟอร์ม ณ ด่านศุลกากรขาออก ในวงเงินไม่เกินคนละ 50,000 มาเลเซีย ริงกิต ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลริงกิตในตลาดโลกซึ่งเปลี่ยนแปลงขึ้นหรือลงตามความต้องการซื้อขายในตลาด ก็สามารถติดตามได้จากรายงานข่าวเศรษฐกิจต่างๆ ของโทรทัศน์บางช่อง เช่น ITV ซึ่งมีรายงานทุกเช้า หรือติดตามจากหน้าหนังสือพิมพ์รายวัน เป็นต้น

4.11 มาตรฐานสินค้า

มีข้อกำหนดเรื่องมาตรฐานด้านสุขอนามัยและด้านความปลอดภัยของสินค้า เช่น สินค้าอาหารเป็นต้น

4.12 ข้อกำหนดในการปิดฉลากและเครื่องหมายทางการค้า

-มาเลเซียกำหนดให้การนำเข้าผักผลไม้ไทยต้องปิดฉลากบนสินค้า (Packing and Labelling) ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อผู้ส่งออกไทย เพราะทำให้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงขึ้นและเกิดความล่าช้าในการขนส่ง

4.13 การเดินทางเข้าประเทศ

หนังสือเดินทาง จะต้องมีอายุเหลืออยู่อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3 เดือน นับจากวันที่แสดงความประสงค์จะเดินทางกลับออกมาจากมาเลเซีย

การตรวจลงตรา สำหรับประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนรวมทั้งชาวไทยได้รับสิทธิให้วีซ่าฟรีระยะเวลา 1 เดือน

การยืดระยะเวลาพำนัก ชาวต่างประเทศสามารถขอยืดระยะเวลาพำนักในประเทศมาเลเซียได้นานถึง 6 เดือน

4.14 ปัญหาที่เป็นข้ออุปสรรคทางการค้าอื่นๆ

-การลักลอบนำเข้า-ส่งออกสินค้าที่อยู่ในข่ายควบคุม เช่นการลักลอบนำเข้าน้ำมันปาล์ม หอมหัวใหญ่ กระเทียม หินอ่อน เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบดึงให้ราคาสินค้าดังกล่าวในประเทศตกต่ำลง ทั้งนี้ หลังจากที่ไทยเปิดตลาดภายใต้กฎเกณฑ์ขององค์การค้าโลกโดยกำหนดให้มีการนำเข้าสินค้าบางชนิดได้ตามปริมาณที่กำหนด ภายใต้เงื่อนไขภาษีนำเข้าที่กำหนดและเงื่อนไขอื่นๆ ก็ทำให้ปัญหาดังกล่าวผ่อนคลายลง

-การลักลอบค้าของหนีภาษีระหว่างแนวชายแดน ทำให้รัฐบาลขาดรายได้และทำให้สินค้าที่นำเข้า-ส่งออกโดยเสียภาษีอย่างถูกต้องไม่สามารถแข่งขันจำหน่ายได้ ซึ่งเรื่องนี้ทางรัฐบาลได้มีการทบทวนเรื่องการลดอัตราภาษีนำเข้าให้ต่ำลงเพื่อแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาดังกล่าว

4.15 มาตรการอื่นๆที่มีผลกระทบต่อการค้า และการลงทุนของประเทศ

-จัดตั้งกองทุนส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศ (Domestic Invesment Fund) เพื่อช่วยเหลือพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ

-เพิ่มกองทุนการขนส่งทางเรือ (Shipping Fund)

-ให้การสนับสนุนกิจการประกันภัย โดยจัดให้มี Large/Specialised Risk Ins. Scheme และอนุญาตให้บริษัทต่างชาติมาทำธุรกิจประกันภัยในมาเลเซียได้

-พัฒนาและปรับปรุงท่าเรือน้ำลึก

-จัดตั้ง Industrial Construction Development Fund เพื่อส่งเสริมการส่งออกการบริการด้านการก่อสร้าง

-ให้บริษัทส่งออกสินค้า สามารถเก็บเงินบางส่วนจากรายได้ในการส่งออกเป็นเงินตราต่างประเทศได้ โดยให้เปิดบัญชีกับธนาคารในประเทศมาเลเซียที่ได้รับการอนุมัติ

-การกู้เงินตราต่างประเทศที่ต่ำกว่า 5 ล้านเหรียญมาเลเซีย ไม่ต้องขออนุมัติจากรัฐบาล

5. ลู่ทางการส่งออก

5.1 กลยุทธ์การเข้าสู่ตลาด/วิธีส่งเสริมการขายที่เหมาะสม

-การจัดทำข้อตกลงทางการค้า (Bilateral Trade Agreement) เพื่อเป็นการส่งเสริมการขยายการค้าระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น

-การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee) เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าแบบทวิภาคีระหว่างไทย-มาเลเซียอย่างเป็นรูปธรรม

-การเจรจาขอให้มาเลเซียพิจารณาทบทวนข้อตกลงการส่งสินค้าผ่านแดนมาเลเซียไปสิงคโปร์ เพื่อให้ไทยสามารถขนส่งสินค้าบางตัว อาทิ เช่น เนื้อไก่ นมและผลิตภัณฑ์นม ผ่านแดนมาเลเซียได้ เพราะเป็นการขนส่งไปขายที่สิงคโปร์ไม่กระทบกระเทือนต่อตลาดภายในมาเลเซีย

-ผลักดันให้เกิดโครงการความร่วมมือภายใต้โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย เพื่อขยายตลาดการค้าระหว่างกัน อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

-ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสภาธุรกิจไทย-มาเลเซีย เพื่อเป็นการประสานความร่วมมือของภาครัฐบาลและเอกชนระหว่างประเทศทางการค้าและการลงทุน โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้จัดตั้งและภาครัฐบาลให้การสนับสนุน

-ส่งเสริมการค้าชายแดน เนื่องจากมีพรมแดนติดต่อกันทั้งทางบกและทางนำ เพื่อมุ่งส่งเสริมการค้าระหว่างกัน ทั้งนี้ ในปี 2539 ทั้งสองประเทศมีปริมาตรการค้าชายแดนระหว่างกันถึง 19,451 ล้านบาท (โดยไทยส่งออกไปมาเลเซีย 15,558 ล้านบาท นำเข้า 3,892 ล้านบาท ได้เปรียบดุลการค้าชายแดน 11,666 ล้านบาท) ซึ่งลดลงจากเดิมมาก(ปี 2537 และ 2538 ปริมาตรการค้า 66,261 ล้านบาท และ 38,779 ล้านบาท ตามลำดับ) โดยการดำเนินการตามโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย ( Indonesian-Malaysian-Thai Growth Triangle = IMT-GT ) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนทางเศรษฐกิจในระดับอนุภูมิภาค โดยมีพื้นที่ครอบคลุม เกาะสุมาตราตอนเหนือและเขตอาเวซ์ของอินโดนีเซีย ตอนเหนือของมาเลเซีย(ได้แก่รัฐปลิส เคดาห์ ปีนัง และเปรัค) และ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย(สงขลา นราธิวาส ยะลา สตูล ปัตตานี) โดยภายในเขตดังกล่าว ภาครัฐจะให้การสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานต่างๆเพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกทางการค้าให้แก่ภาคเอกชน ผู้ประกอบการค้าตามชายแดน ในเรื่องการคมนาคม สาธารณูปโภค การสื่อสาร วิชาการ การเงินและการธนาคาร ตลอดจนความช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีต่างๆ และส่งเสริมให้มีการค้าและการร่วมลงทุนตามบริเวณชายแดนมากยิ่งขึ้น โดยการจัดงานแสดงสินค้า การจัดตั้ง one stop service การเพิ่มจุดผ่านแดน ตลอดจนการปรับระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่เป็นอุปสรรคต่อการทำการค้าชายแดน เป็นต้น ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตุว่าภาวะการค้าชายแดนนี้ ประเทศไทยมีการส่งออกมากกว่าการนำเข้า โดยสัดส่วนการส่งออกเทียบกับการนำเข้าอยู่ในระดับประมาณ 8 : 2 โดยสินค้าออกที่สำคัญคือ ยางพารา สัตว์แช่เย็น/แช่แข็ง อาหารกระป๋อง ผักผลไม้สด บะหมี่ วุ้นเส้น และเส้นหมี่สำเร็จรูป ขนสัตว์ ฯ โดยส่วนหนึ่งเป็นการขนส่งผ่านมาเลเซียไปยังตลาดในประเทศที่สาม เช่น สิงคโปร์ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ฯ

-ไทยควรเน้นส่งเสริมการส่งออกสินค้าที่เป็นปัจจัยสี่ คือ สินค้าประเภทอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค วัสดุในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย และสินค้าอื่นๆที่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิต รวมทั้งสินค้าประเภทผักผลไม้ต่างๆที่มาเลเซียผลิตไม่ได้หรือไม่พอเพียงต่อการบริโภคในประเทศ เนื่องจากมาเลเซียคาดการณ์ว่าจะมีประชากรเพิ่มขึ้นจาก 22.4 ล้านคน ในปัจจุบัน เป็น 70 ล้านคนในปี 2568 และประเทศไทยมีความได้เปรียบในเรื่องการขนส่งสินค้าไปยังตลาดนี้มาก โดยเฉพาะในปัจจุบันมาเลเซียมุ่งเน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวมากจึงน่าจะเป็นโอกาสดีในการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวในมาเลเซียมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ สินค้าที่น่าจะมีศักยภาพในการส่งออกไปมาเลเซียได้มาก ได้แก่ สินค้าประเภทที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม เช่น ผลิตภัณฑ์พลาสติก และเคมีภัณฑ์ต่างๆ เพราะมาเลเซียมีแผนการที่มุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม และสินค้าประเภท วัสดุก่อสร้าง เครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ สำหรับรองรับความต้องการใช้ในโครงการปรับปรุงและพัฒนาชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกภายในเขต 5 กิโลเมตร ตั้งแต่รัฐปลิส ถึงรัฐยะโฮร์ ซึ่งเป็นโครงการระยะยาวของรัฐบาลมาเลเซีย

5.2 รสนิยม ความต้องการสินค้า พฤติกรรมผู้บริโภคทั่วไป

รสนิยมมีทั้งที่เป็นรสนิยมเฉพาะประเพณีท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ เป็นรสนิยมแบบมาเลย์ (Malay Style) และปฏิบัติตามหลักของศาสนาอิสลาม รสนิยมที่เป็นสากลจะมีรูปแบบเหมือนกับประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งรสนิยมประจำเชื้อชาติเดิมของประชาชนในประเทศ เช่น รสนิยมในรูปแบบจีน (Chinese Style) อินเดีย และทมิฬ เป็นต้น ทำให้เกิดความต้องการอุปโภคบริโภคสินค้าตามรูปแบบรสนิยมขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆกัน

5.3 ช่องทางการจำหน่าย

นอกจากการจำหน่ายโดยผู้นำเข้าโดยทั่วไปแล้ว การจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายก็เป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้ตลาดขยายตัวออกไปได้ เพราะตัวแทนจำหน่ายจะเป็นผู้ทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ แต่การเลือกตัวแทนจำหน่ายจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังด้วย

5.4 เทคนิคการเจรจาการค้า (ทางการและไม่เป็นทางการ)

เทคนิคการเจรจาการค้าในระยะเริ่มแรกโดยวิธีที่ไม่เป็นทางการอาจจะได้ผลมากกว่าและประหยัดกว่า เพราะการเจรจาอย่างเป็นทางการจะต้องมีขั้นตอนพิธีการโดยบางครั้งยังไม่สามารถพูดจากันได้อย่างตรงไปตรงมา อย่างไรก็ตาม เมื่อการเจรจาอย่างไม่เป็นทางการสำเร็จลุล่วงไปแล้ว การตกลงอย่างเป็นพิธีการก็อาจมีขึ้นได้ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในข้อตกลงต่างๆ ในกรณีที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ข้อตกลงยิ่งควรจะต้องมีการกระทำอย่างเป็นทางการ คือมีการลงนามต่อหน้าพยาน ซึ่งมักจะมีการเชิญแขกมาร่วมงานเลี้ยงเพื่อเป็นเกียรติและสักขีพยาน

5.5 ข้อควรรู้อื่นๆ สำหรับผู้ที่จะไปเยือนมาเลเซีย

เงินตรา ใช้เงินสกุลริงกิต (Ringgit) 1 ริงกิต = 100 เซน (sen)

วันชาติ คือ วันที่ 31 สิงหาคม (ค.ศ. 1957)

การแต่งกาย ข้าราชการและนักธุรกิจนิยมใส่ชุดสากลหรือชุดซาฟารี สำหรับงานเลี้ยงที่ค่อนข้างเป็นทางการต่างๆส่วนใหญ่ใช้ชุดสากลหรือใช้เสื้อบาติกประจำชาติแขนยาว

พุทธศาสนาในประเทศมาเลเซีย

มาเลเซียเคยได้รับอิทธิพลของพระพุทธศาสนามาในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย แต่ต่อมาศาสนาอิสลามได้เข้ามาแพร่หลายอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมาทำให้พุทธศาสนาหมดความสำคัญไป

ในปัจจุบัน การนับถือพระพุทธศาสนาในมาเลเซียมีอยู่เฉพาะในบรรดาผู้ที่รับเชื้อสายมาจาก ชาวจีน ลังกา พม่า และไทย และมีวัดและสำนักสงฆ์ตั้งอยู่ในบางแห่ง เช่น ที่เมืองกัวลาลัมเปอร์และเมืองปีนัง มีวัดไทยตั้งอยู่และมีพระสงฆ์ไทยไปจำพรรษาอยู่ที่นั่น วัดไทยที่กัวลาลัมเปอร์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ ด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซีย เรียกชื่อว่า วัดเชตวัน สร้างเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยสวยงามมาก วัดไทยที่ปีนัง ชื่อ วัดไชยมังคลาราม เป็นวัดไทยที่เก่าแก่ ยังไม่ทราบปีที่สร้างแน่นอน วัดนนี้มีปูชนียสถานสำคัญ เช่น พระพุทธไสยาสน์ และวิหารพระพุทธเจดีย์

ซึ่งถือว่าใหญ่ที่สุดในเกาะปีนัง.

พระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซีย

มาเลเซียเคยได้รับอิทธิพลของพระพุทธศาสนามาในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย แต่ต่อมาศาสนาอิสลามได้เข้ามาแพร่หลายอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมาทำให้พุทธศาสนาหมดความสำคัญไป

ในปัจจุบัน การนับถือพระพุทธศาสนาในมาเลเซียมีอยู่เฉพาะในบรรดาผู้ที่รับเชื้อสายมาจาก ชาวจีน ลังกา พม่า และไทย และมีวัดและสำนักสงฆ์ตั้งอยู่ในบางแห่ง เช่น ที่เมืองกัวลาลัมเปอร์และเมืองปีนัง มีวัดไทยตั้งอยู่และมีพระสงฆ์ไทยไปจำพรรษาอยู่ที่นั่น วัดไทยที่กัวลาลัมเปอร์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ ด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซีย เรียกชื่อว่า วัดเชตวัน สร้างเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยสวยงามมาก วัดไทยที่ปีนัง ชื่อ วัดไชยมังคลาราม เป็นวัดไทยที่เก่าแก่ ยังไม่ทราบปีที่สร้างแน่นอน วัดนนี้มีปูชนียสถานสำคัญ เช่น พระพุทธไสยาสน์ และวิหารพระพุทธเจดีย์ ซึ่งถือว่าใหญ่ที่สุดในเกาะปีนัง.

บทนำการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

บรรดาศาสนาสำคัญที่มีผู้นับถือเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน พระพุทธศาสนานับว่าเป็นศาสนาที่มีอายุเก่าแก่เป็นอันดับสองรองจากศาสนาพราหมณ์ที่ดำรงอยู่ในรูปของศาสนาฮินดู พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในโลกเมื่อ ๔๕ ปีก่อนพุทธศักราช (พุทธศักราชเริ่มนับ ๑ ถัดจากปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน) ในดินแดนชมพูทวีปซึ่งในปัจจุบันได้แก่ ประเทศอินเดีย และเนปาล โดดยเริ่มขึ้นในวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่พวกปัญจวัคคีย์ ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือนอาสาฬะ (ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘) จากวันนั้นเป็นต้นมา พระพุทธเจ้าได้เสด็จจาริกออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วชมพูทวีป โดยในระยะแรกพระองค์เสด็จออกเผยแผพระองค์เดียว เมื่อมีสาวกมากขึ้น ก็ให้พุทธสาวกออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วย ทำให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายไปในชมพูทวีปอย่างรวดเร็ว ชาวชมพูทวีปพากันละทิ้งลัทธิเดิมแล้วหันมานับถือเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น เป็นลำดับ

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๓ พระเจ้าอโศกมหาราชผู้ปกครองประเทศอินเดียในสมัยนั้น มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก

พระองค์ได้ทรงให้ความอุปถัมภ์โดยทรงจัดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ ขึ้นในปี พ.ศ.๒๓๖ ณ วัดอโศการาม นครปาฏลีบุตร แคว้นมคธ (ปัจจุบันคือ เมืองปัตนะ เมืองหลวงของรัฐพิหาร) ทรงอาราธนาพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน หลังจากสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยเสร็จสิ้นแล้ว พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้จัดคณะพระธรรมทูตออกเป็น ๙ คณะแล้วส่งไปประกาศพระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆดังนี้

คณะที่ ๑ มีพระมัชฌันติกเถระเป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นกัษมิระ คือ รัฐแคชเมียร์ ประเทศอินเดียปัจจุบัน และแคว้นคันธาระ ในปัจจุบัน คือ รัฐปัญจาป ทั้งของประเทศอินเดียและประเทศปากีสถาน

สายที่ 2 พระมหาเทวเถระ เป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นมหิสมณฑ,ปัจจุบัน ได้แก่ รัฐไมเซอร์และดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโคธาวารี ซึ่งอยู่ในตอนใต้ประเทศอินเดีย

สายที่ 3 พระรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ วนวาสีประเทศ ในปัจจุบันได้แก่ ดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย

สายที่ 4 พระธรรมรักขิตเถระ หรือพระโยนกธรรมรักขิตเถระ (ซึ่งเข้าใจกันว่าเป็นฝรั่งคนแรกในชาติกรีกที่ได้เข้าบวชในพระพุทธศาสนา)เป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ อปรันตกชนบทปัจจุบันสันนิษฐานว่าคือดินแดนแถบชายทะเลเหลือเมืองบอมเบย์

สายที่ 5 พระมหาธรรมรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นมหาราษฎร์ ปัจจุบัน ได้แก่ รัฐมหาราษฎร์ของประเทศอินเดีย

สายที่ 6 พระมหารักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในเอเซ๊ยกลาง ปัจจุบันได้แก่ ดินแดนที่เป็นประเทศอิหร่านและตูรกี

สายที่ 7 พระมัชฌิมเถระ พร้อมด้วยคณะ คือพระกัสสปโคตรเถระ

พระมูลกเทวเถระ พระทุนทภิสสระเถระ และพระเทวเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนแถบภูเขาหิมาลัย สันนิษฐานว่า คือ ประเทศเนปาล

สายที่ 8 พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งปัจจุบันคือ ประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน เช่น พม่า ไทย ลาว เขมร เป็นต้น

สายที่ 9 พระมหินทเถระ (โอรสพระเจ้าอโศกมหาราช) พร้อมด้วยคณะ คือพระอริฏฐเถระ พระอุทริยเถระ พระสัมพลเถระ และพระหัททสารเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ลังกาทวีป ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ กษัตริย์แห่งลังกาทวีป ปัจจุบัน คือ ประเทศศรีลังกา

สถานภาพการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของต่างประเทศ

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซียเป็นประเทศหนึ่งในเอเซีย ที่กำลังพัฒนาเพื่อก้าวสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ โดยในปี 2513 ได้จัดทำนโยบายเศรษฐกิจใหม่ (New Economy Policy : NEP) และในปี 2534 ได้จัดทำนโยบายการพัฒนาใหม่ (New Development Policy : NDP) ในการสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นระบบ และปัจจัยสำคัญในการบรรลุเป้าหมายของชาติ คือ การให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

แผนพัฒนาการศึกษาของมาเลเซีย มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาในอนาคตระยะยาว (The Second Outline Perspective Plan : 1991-2001) แผนพัฒนาฉบับที่ 7 (The Seventh Development Plan) และวิสัยทัศน์ 2020 (Vision 2020) ของผู้นำประเทศ ซึ่งเน้นการให้ความสำคัญสูงสุดต่อทรัพยากรมนุษย์ ให้มีขีดความสามารถอันเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้ประเทศก้าวสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาอย่างยั่งยืนได้

มิติใหม่ของแผนพัฒนาได้เน้นบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใน 2 ประเด็น คือ

1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการยกระดับสมรรถนะการผลิตด้านแรงงานโดยการฝึกอบรมและพัฒนาส่งเสริมความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และการจัดการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2. การเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยในแผนได้ส่งเสริมให้มีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านสารสนเทศและด้านกายภาพระดับโลก ในการที่จะทำให้มาเลเซียเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคนี้

การจัดการศึกษา

ในปี 1996 มาเลเซียได้ออกประกาศการศึกษา (1996 Educational Bill) กำหนดให้การศึกษาก่อนวัยเรียน เป็นส่วนหนึ่งในระบบการศึกษาสายสามัญ โดยให้อยู่ในความดูแลของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรอาสาสมัคร

ระดับประถมศึกษา

มีการใช้หลักสูตรประถมศึกษาแผนใหม่ (The New Primary School Curriculum) ซึ่งเน้นทักษะพื้นฐาน 3 ประการ คือ 3Rs : Reading, Writing และ Arithmetic และบังคับใช้ทั่วประเทศ ในปี 1988 เพราะจากหลักฐานที่พบว่า เมื่อเด็กจบประถมศึกษา ใช้เวลา 6 ปี ไม่สามารถอ่าน และเขียน ตลอดจนคิดเลขคณิตได้ นอกจากนี้ยังได้มีการดำเนินการสอดแทรกพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในชั้น ป.1 – 3 และแยกเป็นรายวิชาเฉพาะในชั้น ป. 4-6

ระดับมัธยมศึกษา

1. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

2. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

1. สายสามัญ ได้มีการเร่งจำนวนนักเรียนเข้าเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้น หัวข้อเรื่อง “การประดิษฐ์” จะสอดแทรกในรายวิชา “The living skills subject” ในมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อให้นักเรียนมีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และมีการปรับปรุง เนื้อหาหลักสูตรคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้ทันสมัย

2. สายเทคนิค ได้มุ่งผลิตนักเรียนคุณภาพ มีความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมเพื่อศึกษาต่อสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับที่สูงขึ้น

จากวิกฤตการณ์ความขาดแคลนวิศวกรและช่างฝีมือ รัฐบาลของมาเลเซียได้ ปรับเปลี่ยนมาตรการทางการศึกษาเพื่อสนองความต้องการของประเทศให้ทันการณ์ โดยได้เปลี่ยนโรงเรียนมัธยมสายอาชีวศึกษา 69 แห่ง ให้เป็นโรงเรียนมัธยมสายช่างเทคนิค

การศึกษาวิชาชีพครู ในช่วงแผนฯ 7 จะเพิ่มจำนวนครูให้มีคุณภาพในสายวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ

ระดับอุดมศึกษา

การพัฒนาอุดมศึกษาในช่วงแผนฯ 7 จะมุ่งเน้นความสามารถที่จะรองรับการศึกษาต่อในสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมและเทคนิค ตลอดจนเพิ่มศักยภาพที่จะทำการวิจัยและพัฒนา ตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และการบริการ โดยคาดหมายว่า จำนวนผู้สำเร็จปริญญาตรีสายวิทยาศาสตร์จะมีสัดส่วนทัดเทียมกับสายศิลป์ และสายช่างเทคนิค ซึ่งเป็นการแสดงถึงแนวโน้มที่ดีขึ้นกว่าแผนพัฒนาฉบับที่ผ่านมา

การฝึกอบรม

รัฐบาลมาเลเซียได้ให้ความสำคัญในการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะ เฉพาะอย่างยิ่ง ในสายวิชาทางวิศวกรรมและช่างกล รวมทั้งให้มีการฝึกอบรมในสาขาใหม่ ๆ พร้อมทั้งขยายหลักสูตรให้สูงขึ้น ทั้งนี้ได้สนับสนุนให้ภาคเอกชนสร้างสถาบันฝึกอบรมให้กับพนักงาน โดยในช่วงแผนฯ 7 จะสร้างสถาบันฝึกอบรมทักษะระดับสูง 9 แห่ง โดยร่วมกับศูนย์ฝึกทักษะ และองค์กรนิติบุคคล เปิดสอนด้านอิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการผลิต การผลิตอุปกรณ์เครื่องบิน บริการด้านการสร้างเรือ และซ่อมบำรุง พร้อมกันนี้ยังได้จัดสรรงบประมาณในการสร้างสถาบันทักษะเยาวชนแห่งชาติ 6 แห่ง สถาบันการฝึกอบรมทักษะงานอุตสาหกรรม 5 แห่ง โดยคาดว่า เมื่อสิ้นแผน สถาบันการฝึกอบรมของภาครัฐทั้งหมด จะผลิตแรงงานฝีมือจำนวนประมาณ 200,000 คน

มาตรการเร่งด่วนอีกมาตรการหนึ่ง คือ ให้องค์กร NVTC (The National Vocational Training Council) พัฒนามาตรฐานทักษะในการประกอบวิชาชีพของชาติ โดยแบบแผนหลักสูตรสำหรับการฝึกฝนทักษะ จะให้ความสำคัญกับรายวิชาด้านเทคโนโลยีชั้นสูงเป็นอันดับแรก เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้รัฐบาลมาเลเซียได้ให้ความสำคัญกับบุคลากรผู้สอนในสถาบันฝึกอบรมของรัฐ ตั้งแต่ปรับปรุงค่าจ้าง เงื่อนไขการทำงาน สัญญาจ้างงาน และมีโครงการฝึกอบรมบุคลากรครูฝึกแห่งชาติ ที่ Centre for Instructor and Advanced Skill Training โดยตั้งเป้าหมายว่า จะผลิตครูฝึกอบรมทักษะชั้นสูง 200 คนต่อปี ทั้งนี้จะพิจารณาเพิ่มจำนวนครูฝึกจากต่างชาติด้วย

 
ที่มา : http://www.google.com

 
   
     

ภาพที่ 1http://images.thaiza.com/38/38_200802291517591..jpg
ภาพที่ 2http://www.thaigoodview.com/sites/all/modules/tinymce/tinymce/jscripts/tiny_mce/blank.htm
ภาพที่ 3http://www.thaigoodview.com/sites/all/modules/tinymce/tinymce/jscripts/tiny_mce/blank.htm

แหล่งอ้างอิง: 

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8

ใส่ความเห็น

ใส่ความเห็น